การสืบทอดอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ “ชอง” ผ่านพิธี “ส่งในบ้าน” ของชาวชอง บ้านทุ่งไก่ดัก อ.เมือง จ.ตราด

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดตราด โดยใช้กรณีศึกษาจากพิธีส่งในบ้านของชาวชอง บ้านทุ่งไก่ดัก ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธ์ชอง เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองตราดมานับแต่อดีต มีหลักฐานปรากฏนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา มีพิธีกรรมที่สำคัญพิธีหนึ่งเรียกว่า “บุญส่ง” หรือ “ส่งในบ้าน” เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อเช่นสรวงผีบรรพบุรุษ ซึ่งผู้วิจัยพบว่า พิธีกรรมนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดตราดอย่างชัดเจน ทั้ง 1) การสืบทอดอัตลักษณ์ผ่านพิธีเลี้ยงผี ที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างชาวชองกับผีบรรพบุรุษ 2) การสืบทอดอัตลักษณ์ผ่านพิธีเชิญผีสัตว์ป่า ที่แสดงให้เห็นความผูกพันระหว่างชาวชองกับป่า 3) การสืบทอดอัตลักษณ์ผ่านพิธีรบกับผี ที่เป็นการผลิตซ้ำเรื่องเล่าสงครามในกลุ่มชอง และ 4) การสืบทอด อัตลักษณ์ผ่านพื้นที่ประกอบพิธีกรรม ที่เป็นการประกาศอาณาเขตชาวชอง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการธำรงรักษา “ความเป็นชอง” ไว้ ขณะเดียวกันก็เป็นสายใยผูกพันลูกหลานชาวชองในปัจจุบันให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2555) หน้า 87-124) 

 

 

The Maintenance of Identity of the “Chong” Ethnic Group: A Case Study from Song Nai Ban Ritual in Ban Thung Kai Dak, Amphoe Mueang, Trat Province 

 

Aphilak Kasempholkoon

 

Abstract

 

This paper aims at examining the maintenance of the identity of the “Chong” ethnic group in Trat province in the Song Nai Ban Ritual at Ban Thung Kai Dak, Amphoe Mueang. The study reveals that the Chong, an ethnic group in Trat Province, has a significant ritual called “Bun Song” or “Song Nai Ban”, a spirit worshiping ritual that shows the Chong’s maintenance of identity in the following aspects: 1) the spirit food offering that indicates the relationship between the Chong and their ancestors; 2) the summonsing of wild animal spirits that expresses the relationship between the Chong and the forest; 3) the battle with spirits that reproduces the Chong’s narratives of war; and 4) the ritual space and the Chong’s territorial declaration. All of these aspects bring about an attempt to maintain the Chong’s identity and their harmonious engagement with the generation of today.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 1 (February – July 2012) Page 87-124)

 

บทความ / Full Text : Download