สองมิติของ “การเดินทาง” ในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 : จินตนาการและภาพสะท้อนสังคม

ดินาร์ บุญธรรม

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาภาพการเดินทางและการสัญจรที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) โดยเลือกศึกษาจากจิตรกรรมฝาผนังของวัดสำคัญที่สร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลนั้น ผลการวิจัยพบว่าช่างเขียนในสมัยรัชกาลที่ 3 วาดภาพการเดินทางและการสัญจรในงานจิตรกรรมฝาผนังไว้เป็นจำนวนมาก โดยจำแนกได้ในเบื้องต้นเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติที่เป็นการเดินทางสัญจรแบบสมจริง ได้แก่การเดินทางสัญจรของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ท้าวพระยามหากษัตริย์ ขุนนางและไพร่พลทหาร พ่อค้าและสามัญชนกลุ่มต่างๆ เป็นการเดินทางสัญจรทั้งแบบเดินเท้า และไปด้วยยานพาหนะชนิดต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ำ และทั้งที่เป็นการเดินทางโดยลำพังและเดินทางเป็นกลุ่ม และทั้งที่เป็นการเดินทางในชีวิตประจำวันและเดินทางเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะ ส่วนมิติที่สองเป็นการเดินทางสัญจรในจินตนาการที่ช่างเขียนถ่ายทอดมาจากการเดินทางแบบเหนือจริงหรือเหนือโลก ที่ปรากฏในพระสูตรหรือวรรณคดีทางพุทธศาสนา ได้แก่การเดินทางสัญจรของพระพุทธเจ้าและพระสาวก เทพยดา พระเจ้าจักรพรรดิราช และผู้มีฤทธิ์อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินทางสัญจรด้วยการเหาะเหินเดินอากาศ มีทั้งที่เหาะไปโดยลำพังตนเองและไปเป็นกลุ่ม และมีทั้งที่เหาะด้วยกำลังฤทธิ์ของตนเองและโดยสารพาหนะวิเศษต่างๆ ไปในอากาศ จากการวิเคราะห์ภาพการเดินทางสัญจรทั้งสองมิติในงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 นี้ โดยเฉพาะเมื่อศึกษาร่วมกับเอกสารประวัติศาสตร์และวรรณกรรมร่วมสมัย รวมทั้งคัมภีร์และวรรณกรรมทางพุทธศาสนา จะพบว่าในมิติของการเดินทางเหนือจริงจะสะท้อนให้เห็นการใช้จินตภาพของช่างเขียนในการมุ่งถ่ายทอดการอธิบายถึงฤทธานุภาพของนักเดินทางเหนือจริงที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรและวรรณคดีพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังเกิดความเข้าใจเรื่องราวในภาพ ไปจนถึงการเกิดความเชื่อและปีติศรัทธาในเรื่องราวเหล่านั้น ตามคำสอนในพุทธศาสนาที่ว่าผู้มีกำลังฤทธิ์ที่สามารถจะเดินทางสัญจรไปได้ในมิติที่เหนือความจริงอย่างการเหาะเหินเดินอากาศนั้นเป็นผู้วิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป และความวิเศษนั้นเกิดด้วยอำนาจแห่งการสั่งสมบุญบารมีและการบำเพ็ญเพียร ส่วนภาพการเดินทางสัญจรในมิติที่เป็นความสมจริงนั้นสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเป็นภาพสะท้อนของการเดินทางสัญจรที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทุกระดับชั้นในสังคม
ไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่ว่าจะพิจารณาที่นักเดินทาง ลักษณะการเดินทาง ยานพาหนะ หรือวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ก็ล้วนพบว่าเป็นความตั้งใจของช่างเขียนที่จะสะท้อนภาพสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งการเดินทางสัญจรเป็นกิจกรรมที่เป็นพลวัตรสำคัญของสังคมอย่างเห็นได้ชัด บทความวิจัยเรื่องนี้ยังสรุปสาเหตุของการที่ช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ 3 วาดภาพการเดินทางสัญจรทั้งสองมิติไว้เป็นจำนวนมาก ว่ามาจาก 1) การวางโครงสร้างพื้นที่การนำเสนอภาพจิตรกรรมฝาผนังใหม่ในลักษณะที่ต่างยุคปลายอยุธยาและสองรัชกาลก่อน 2) ความตั้งใจของช่างเขียนที่จะเพิ่ม “ภาพกาก” ลงในจิตรกรรมฝาผนังห้องต่างๆ 3) การขยายเรื่องราวที่นำมาถ่ายทอดเป็นจิตรกรรมฝาผนังให้แหวกจากจารีตเดิม และ 4) ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเฉพาะการขยายตัวทางการค้าและเศรษฐกิจ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 61-101) 

 

 

Imaginations and Reflections of Social Activities : Journey and Transportation Scenes in Traditional Thai Mural Paintings of Rama III’s Reign

 

Dinar Boontharm

 

Abstract

 

The aim of this research article is to examine various scenes of journeys and transportations depicted in classical Thai mural paintings of Rama III’s reign (A.D. 1824-1851), in which great changes in terms of concept and technique were introduced to classical mural paintings. Mural paintings from different royal monasteries of the third reign, mostly in Bangkok, are surveyed in order to pick the journey and transportation scenes. Journeys and transportations in various ways can be observed in these mural paintings. The results of the research lead to the division of journeys and transportations in the studied mural paintings into two types. The first type sees the scenes of real journeys and transportations, no matter the travelers are the Buddha and his disciples, kings and their entourages, merchants and city dwellers or even soldiers and slaves; what kind of vehicles these travellers used or what the purposes of making the journeys shall be. All the journey scenes in the mural paintings do reflect the journeys and transportations which accurately appear in social life of the Thais during the Early Bangkok Period. The second type of the journey scenes are surreal journeys, mostly by mean of flying. Flying is mentioned in Buddhist texts as the way of making journey for those who had fully accumulated their perfections or those who had gained enlightenment. The Buddha and his Aranhanta disciples, the Chakravatti universe kings and angels are exemplified as the ones who have magic power to make their flying journeys.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 61-101)

 

บทความ / Full Text : Download