การสร้างสรรค์ชาดกเรื่องพระมหาชนกในรูปแบบการ์ตูนโทรทัศน์

สุภัค มหาวรากร และ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอชาดกเรื่องพระมหาชนกในรูปแบบการ์ตูนโทรทัศน์ และบทบาทของสื่อการ์ตูนโทรทัศน์เรื่องพระมหาชนกในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า การ์ตูนโทรทัศน์เรื่องพระมหาชนกที่แพร่ภาพในสื่อโทรทัศน์และนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบสื่อวีดิทัศน์ได้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับผู้เสพคือเด็กๆ ในสังคมไทย 4 ประการ ได้แก่ การอธิบายขยายความ “วิริยบารมี” ให้เข้าใจง่าย การนำเสนอภาพตัวละครพระมหาชนกและเพื่อนๆ ในนครกาลจัมปากะ การสร้างเหตุการณ์เพิ่มเติมคือพระมหาชนกถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง การหนีออกจากบ้าน ด่านทดสอบบารมี และการสร้างฉากและเครื่องแต่งกายตัวละคร ทั้งหมดนี้ทำให้เด็กๆ รับรู้และเข้าใจชาดกเรื่องนี้ง่ายขึ้น งานวิจัยนี้ทำใหเห็นบทบาทของการ์ตูนอนิเมชั่นเรื่องพระมหาชนกในสังคมไทย 2 ประการ ได้แก่ การสอนธรรมะ และการยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช นับเป็นการรับรู้และเรียนรู้หลักธรรมทางพุทธศาสนาผ่านสื่อสารมวลชนที่นับวันยิ่งมีอิทธิพลในสังคมไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2557) หน้า 27-53) 

 

 

The Creation of Mahājanaka Jātaka for Television Cartoon

 

Supak Mahavarakorn and Prit Supasetsiri

 

Abstract

 

This research aimed to study the change of presenting Pramahajanaka in the form of television animation and its role in the media of the Thai society. Findings revealed that the detail story of Pramahajanaka in television animation which was broadcast through television media and remade in the form of video media (DVD) has been changed and adapted to suit the audience who are children in the Thai society. The change involves four aspects. First, the term “Viriya Parami” was clearly defined and explained. Second, the characterization of the main characters focused on Pramahajanaka and his friends in the City of Kalajambaka. Third, the plotting of main events included Pramahajanaka’s being badly treated by friends, his fleeing from home, and being tested of his incarnated power. Fourth, screen and costume were well-designed. All changes facilitated the perception and understanding of children. Obviously, this study reflected the role of Pramahajanaka Animation in the Thai society in two ways: the teaching of Dhamma and the glorification of His Majesty King Bhumibol Adulyadej Indeed, it is an effective way of learning Buddhist teaching of Dhamma through the increaslying influential mass media in the Thai society.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 10 Number 1 (February – July 2014) Page 27-53)

 

บทความ / Full Text :  Download