งานช่างฝีมือกับเครื่องดนตรีไทยในสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยงานช่างฝีมือกับเครื่องดนตรีไทยในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติงานช่างฝีมือประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยในสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยวิธีวิจัยทางเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า เครื่องดนตรีไทย ทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า เป็นสมบัติอันเกิดจากการบูรณาการความรู้งานช่างฝีมือ ได้แก่ งานช่างไม้ งานช่างกลึง งานช่างบุ งานช่างหล่อ งานช่างรัก งานช่างแกะ งานช่างสลัก งานช่างประดับมุกที่สืบทอดกันมาจากสมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลปัจจุบัน และมีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมในสังคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คือ บทบาทของช่างชาววังมายังช่างชาวบ้าน บทบาทการบูรณาการองค์ความรู้งานช่างฝีมือประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทย บทบาทของเครื่องดนตรีไทย บทบาทของบริบทในสังคมไทย ซึ่งทำให้งานช่างประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีพัฒนาการจากรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน บทบาทเหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน เกื้อกูลให้สังคมร่วมกันพัฒนาเครื่องดนตรีไทยยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเป็นสมบัติอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของสังคมไทย สังคมอาเซียน และสังคมโลกสืบไป

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558) หน้า 165-218) 

 

 

Thai Arts and Crafts in Traditional Thai Musical Instruments During Rattanakosin Period

 

Rungaroon Kulthamrong

 

Abstract

 

This historical and documentary research article aims to study the inheritance of the traditional musical instruments in Thai society during Rattanakosin Period. The four fundamental types of Thai musical instruments are classified into four categories consisting of plucked instruments (lute), bowed string instruments, percussion instrument, and wind instrument. As an outstanding traditional treasures, these inventive instruments, have been creation of unique integrated craft works of woodcraftsman, turner, pad fitting, moulder, lacquer work, carver or sculpture, pearl artisan, and pearl marquetry. Since Sukothai period onwards to the present reign, the craft works in traditional Thai musical instrument has encompassed significantly the cultural role in Rattanakosin Period, notably, inheritance of craftwork of the royal Court to layman craftsmanship, knowledge integration of instrumental craftsman invention, role of Thai musical instruments, context of Thai society relating to Thai instrumental craftworks. Thai inventive musical-instrumental craftworks in Rattanakosin Period which were developed during the reign of King Rama the Second onwards, has become influential dynamic in supporting and promoting social cooperation for more creativity of Thai musical instruments in order to sustain the traditional treasure of Thai society including ASEAN and global communities.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 1 (January – June 2015) Page 165-218)

 

บทความ / Full Text : Download