ตรีพิพิธพร สวัสดิมงคลในพระราชวังดุสิต รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว

รัชดา โชติพานิช

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อและค้นหาความหมายของนามถนน ประตู พระตำหนักและสวนในบริเวณพระราชวังดุสิต ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และพระราชทานนามไว้ อาทิ ถนนดวงตวัน ถนนเบญมาศ ถนนใบพร ประตูสี่แซ่ ประตูกิเลน พระตำหนักเขาไม้ สวนฝรั่งกังไส สวนบ๋วยไผ่ เป็นต้น ผู้วิจัยใช้วิธีศึกษาเชิงเอกสาร ทั้งจากเอกสารชั้นต้นที่เก็บรักษาอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่องเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพระราชวังดุสิต รวมทั้งแผนที่ประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 และ พ.ศ.2453 พบว่า นามพระราชทานเหล่านี้ มีที่มาจากลวดลายเครื่องกระเบื้องจีน อันเป็นพระราชนิยมในการเล่นเครื่องโต๊ะ โดยจัดวางเครื่องกระเบื้องจีนลวดลายต่างๆ ตั้งเป็นโต๊ะหมู่บูชา รวมทั้งจากการศึกษาบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องถ้วยจีน ผลการศึกษา ค้นพบว่า นามพระราชทานเหล่านี้ คือลวดลายบนเครื่องกระเบื้องจีนที่สื่อถึงตรีพิพิธพร คือพรสามประการ อันได้แก่ ความมียศวาสนา ความมั่งมีด้วยโภคทรัพย์และบริวาร และความมีอายุมั่นขวัญยืน รวมทั้งลายที่มีความเป็นสวัสดิมงคลต่างๆ นับเป็นพรที่พระองค์พระราชทานให้แก่บ้านและเมืองเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข ปัจจุบัน นามถนน ประตู ที่รัชกาลที่ 5 เคยพระราชทานไว้เปลี่ยนแปลงไป ความนิยมในการเล่นเครื่องโต๊ะก็ค่อยๆ เสื่อมสูญไป คงเหลือไว้เพียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เอกสาร ภาพถ่ายและแผนที่บางส่วนเท่านั้น

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558) หน้า 121-164) 

 

 

Prosperities Blessing in Dusit Palace During the Reign of King Chulalongkorn

 

Rachada Chotipanich

 

Abstract

 

This paper aims at collecting and studying the meaning of places’ names around Disit Palace: streets, gates, courts and gardens. Duangtawan Street, Benjamas Street, Baiporn Street, Sii Sae Gate, Kilen Gate, Khao Mai Court, Farang Kangsai Garden, Bui Pai Garden were built by King Chulalongkorn (Rama V). This paper is the documentary research which accumulate both primary and secondary source from National Thai Archive, the collection of report about the history and architect in Dusit Palace, and the map of Bangkok around 2450 – 2453 B.E. The research found that, the names given to the places in Dusit Palace are derived from Royal China Porcelain which was interested by King Rama V under the trend of arranging the Chinese altar. Together with studied King Rama V written works and interview with the expert in China Porcelain, also found that those names reflect to Tripittaporn or the three blessing: being powerful, being wealthy, and being healthy. That is to say, blessing for his Palace and Kingdom to success in those prosperity. Nowadays, the names given by King Rama V have declined together with the downfall of the popular of arranging Chinese altar. Thus these names remain only in recorded document.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 1 (January – June 2015) Page 121-164)

 

บทความ / Full Text : Download