ตัวตนของเมืองในล้านนา

ภูเดช แสนสา

 

บทคัดย่อ

 

ตัวตนของเมืองในล้านนายุคจารีต ประกอบขึ้นด้วยหัวใจสำคัญ คือ “เจ้า” “พุทธ” (พราหมณ์) และ “ผี” มีการจัดระบบตัวตนทางจินตภาพซ้อนทาบทับไปกับระบบตัวตนทางกายภาพ ตัวตนของเมืองผ่านระบบเจ้ามีการจัดแบ่งปริมณฑลของเมืองและเวียงออกเป็นส่วนต่างๆ โดยให้คุ้มหลวงหอคำเวียงแก้วเป็นศูนย์กลางของเมือง ระบบพุทธ (พราหมณ์) มีการสร้างวัดสำคัญขึ้นเป็นองค์ประกอบของเมือง ทั้งวัดมิ่งเมือง วัดหัวข่วง วัดหลวงประจำเมือง และวัดสี่มุมเมือง มีการจัดระบบพระธาตุองค์สำคัญ ภายในเมืองหรืออาณาจักร ทั้งระบบบูชาพระธาตุประจำปีเกิด ระบบบูชาพระธาตุประจำพระเจ้าห้าพระองค์ และระบบบูชาพระธาตุสี่มุมเมือง (ระบบพระธาตุสี่จอม) การสร้างเวียงพระธาตุหรือเวียงทางศาสนา ตลอดจนสถาปนาพระธาตุประจำเมืองขึ้นตามภูเขาหรือพื้นที่สำคัญต่างๆ ระบบผีมีการจัดลำดับศักดิ์ของผีให้ควบคุมสังคมชุมชนระดับต่างๆ ภายในเมือง ทั้งจัดระบบผีรักษาทิศทั้ง 4 ของเมือง ระบบผีรักษาเวียงและพื้นที่สำคัญต่างๆ ของเมือง เสาอินทขีล (เสาหลักเมือง) ตลอดไปจนถึงไม้ใจเมืองหรือไม้หมายเมือง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) หน้า 113-144) 

 

 

City Identity of Lanna Kingdom

 

Phoodeit Saensa

 

Abstract

 

In the traditional era, the city identity of the Lanna Kingdom consisted of three essential aspects – King, Buddhism (or Brahmanism) and Spirit. The Lanna Kingdom had a systematic management of city identification through the institution of the King by considering the visual identity, together with physical identity, with the center of the city called Khum Luang Hor Kham Kaew. The kingdom separated the city areas to be many districts. For the Buddhist or Brahmin system, important temples were built as components of the city; for example, Ming Mueang temple, Hua Khuang temple, Si Mum Mueang temple and Luang temple in each city in the Lanna Kingdom.

 

For the important relics in the city or in the kingdom, there were systems of management by following relics birth years, systems for worshiping the relics of five god kings, and systems for worshiping the relics that were kept in temples that were locate at the four corners of city, called the Si Mum Mueang or the Si Chom Relics system. Construction and location of relics district temples or Buddhist/Brahmin districts were on mountains and important areas in the kingdom. For the spirit system, there was a gradation of spirits to control and cover each community level in the city. There was also a spirit systems to protect each corner of the four directions of the city, as well as guardian spirits for protecting inside the city and important areas in the city, such as a pillar (called Inthakhin Pillar), even including old trees in the city.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 2 (July – December 2015) Page 113-144)

 

บทความ / Full Text : Download