ตำนานพญากง พญาพาน : ร่องรอยความสัมพันธ์ของชาวเมืองในภูมิภาคตะวันตกของไทย

อภิลักษณ์ เกษมผลพูล

 

บทคัดย่อ

 

ตำนานพญากงพญาพาน เป็นตำนานพื้นเมืองที่รู้จักกันมาช้านานว่าเป็นตำนานที่อธิบายปฐมเหตุแห่งการสร้างพระปฐมเจดีย์ ตำนานดังกล่าวยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในภูมิภาคตะวันตกผ่านการทำสงครามและการเกี่ยวดองกันในเชิงเครือญาติ บทความนี้จึงมุ่งศึกษาร่อยรอยความสัมพันธ์ของชาวเมืองในภูมิภาคตะวันตกของไทยที่ปรากฏในตำนานพญากงพญาพานสำนวนต่างๆ เพื่อให้เห็นคุณค่าของตำนานพญากงพญาพานที่ไม่เพียงอธิบายความเป็นมาของโบราณสถานเท่านั้น หากแต่ยังบันทึกประวัติศาสตร์สังคม เชื่อมโยงคนในภูมิภาคตะวันตกเข้าไว้ด้วยการมีความเชื่อ “ตำนานเรื่องเดียวกัน” ผลการศึกษาพบว่า ตำนานพญากงพญาพานมีที่มาจากวรรณคดีสันสกฤต ในประเทศไทยพบหลายสำนวนหากแต่แบ่งได้เป็น 2 แบบเรื่อง คือแบบเรื่องลูกฆ่าพ่อ (อธิบายเรื่องพระปฐมเจดีย์) และแบบเรื่องอุสาบารส ในส่วนแบบเรื่องลูกฆ่าพ่อที่อธิบายเรื่องพระปฐมเจดีย์ พบความเชื่อมโยงกับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเฉพาะในภูมิภาคตะวันตก ได้แก่ นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี เมืองเหล่านี้พบว่าล้วนเป็นกลุ่มเมืองสำคัญในอาณาจักรทวารวดีที่ภายหลังมีการกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ด้วย ความสัมพันธ์ที่ปรากฏในตำนานพบทั้งความสัมพันธ์เชิงลบและเชิงบวก สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งในระยะต้นและประนีประนอมภายหลังในภูมิภาคตะวันตก ผนวกกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ในขณะที่แบบเรื่องอุสาบารสกล่าวถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่ของเมืองกลุ่มริมแม่น้ำโขงและไม่ได้อิงกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558) หน้า 219-256) 

 

 

The Legend of Phya Kong and Phya Phan : A Trace of Relationship of People in Western Thailand

 

Aphilak Kasempholkoon

 

Abstract

 

The Legend of Phya Kong and Phya Phan is a local legend behind the creation of Phra Pathom Chedi. The legend says the relationships of people in the western region are formed through war and kindred families. This article aims to explore the traces of the relationships of people in the western Thailand in the various versions of Phya Kong and Phya Phan legend and to study the values of the this legend in recording history and connecting people in the western part of the country with the collective experience of having “the same legend”. The study found that the Phya Kong and Phya Phan legend derives from Sanskrit literature. In Thailand, several versions are found and can be divided into two storylines: one is a story about the killing of his father which explaines the archeological site of Phra Pathom Chedi; and the another is a story about Princess Usa and Prince Barot. The patricide storyline describes the establishment of Phra Pathom Chedi and the links to related areas, particularly in the western region, including Nakhon Pathom, Kanchanaburi, Ratchaburi and Suphan Buri. These cities are among the major cities in the Dvaravati period where people from other places were forced to settle in later. The relationships found in this legend are both negative and positive, reflecting the conflicts and subsequent compromises in the western region and are integrated with the Buddhist thoughts. The Princess Usa and Prince Barot tale discusses the relationship of the urban areas along the Mekong River and is not tied to any Buddhist concept.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 1 (January – June 2015) Page 219-256)

 

บทความ / Full Text : Download