ผ้าย้อมคราม : การทำวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าในกระแสโลกาภิวัฒน์

ดนัย ชาทิพฮด

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาผ้าย้อมครามในฐานะที่เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร โดยใช้ภาพแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท เพื่อชี้ให้เห็นกระบวนการรื้อฟื้นและการกลับมาของผ้าย้อมครามในปัจจุบัน

 

ผลการวิจัยพบว่า ผ้าย้อมครามเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนในอดีต เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นมาคู่กับการทอผ้าและวัฒนธรรมของผ้า การทอผ้าและการย้อมผ้าจึงเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่งของผู้หญิง ผ้าย้อมครามในอดีตถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิต หากแต่ในปัจจุบันเมื่อมีการรื้อฟื้นผ้าย้อมคราม ทำให้ผ้าย้อมครามกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดสกลนคร ภูมิปัญญาของผ้าย้อมครามถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวและเรื่องเล่าต่างๆ กว่าจะกลายมาเป็นผืนผ้าย้อมคราม จนทำให้ถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งมีการขับเคลื่อนเพื่อทำให้ผ้าย้อมครามเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในบริบทของโลกาภิวัตน์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2557 – มกราคม 2558) หน้า 87-116) 

 

 

Indigo Dye Fabric : Commodization of Culture in the Tide of Globalization

 

Danaya Chathiphot

 

Abstract

 

The purpose of this research was to study Indigo dyed fabric as cultural products of the Sakon Nakhon province which represent the Phu Tai ethnic group and to describe the process and revival of Indigo dyed fabric at the present time.

 

The research found that Indigo dye fabric is intellectual heritage from their ancestors. The local wisdom of Indigo dye fabric developed along with the weaving of the fabric and their fabric culture. Becoming an expert in weaving and dyeing has been a socialization factor for Phu Tai women. In the past the Indigo dyed fabric was manufactured to meet the lifestyle of the family and other traditions without sign value thought.

 

At the present, Indigo dye fabric has become an important cultural product of Sakon Nakhon province. Although in the past the production of Indigo dye fabric product was used only for personal use, it is now one of the sources of income for the local community.

 

Since Indigo dye fabric has become one of the sources of income of Sakon Nakhon province, in particular, and the economy of the country, in general, there should be encouragement and promotion of the products in other provinces and countries at regional and global levels.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 10 Number 2 (August 2014 – January 2015) Page 87-116)

 

บทความ / Full Text : Download