พลวัตทางพหุสังคมและพหุวัฒนธรรมของผู้คนในเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2522-2553

พรชัย นาคสีทอง และ อนินทร์ พุฒิโชติ

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะในแง่พลวัตทางพหุสังคมและพหุวัฒนธรรมในยุคการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2522-ปัจจุบัน) โดยศึกษาภายใต้กรอบการวิจัยเชิงคุณภาพตามระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์

 

ผลการศึกษาพบว่าเกาะลันตาเป็นแหล่งอาศัยของผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์มายาวนานทั้งชาวเล (อุรักลาโว้ย มอเก็น) ไทยมุสลิม ไทยเชื้อสายจีน และไทยพุทธ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและเกษตรกรรม แต่ละกลุ่มดำรงวิถีชีวิตตามความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของตน อย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในเกาะลันตาเริ่มมีความเปลี่ยนแปลง เมื่อรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เกาะลันตาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชายทะเลฝั่งตะวันตก ได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญของการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภายหลังจากการประกาศให้เกาะลันตาเป็นอุทยานแห่งชาติใน พ.ศ. 2533 เกาะลันตาเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม และความโดดเด่นจากความหลากหลายทางพหุสังคมวัฒนธรรมของผู้คน การเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวส่งผลให้เกาะลันตาเปลี่ยนสภาพจาก “เกาะปิด” สู่เกาะที่เปิดรับการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยว คนพื้นถิ่นในเกาะลันตาจำนวนไม่น้อยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากชาวประมงเข้าสู่ธุรกิจการท่องเที่ยว ปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวและคนต่างท้องถิ่นที่เข้ามาลงทุนและประกอบอาชีพ รวมถึงการเปิดรับวัฒนธรรม ค่านิยมและเทคโนโลยีต่างๆ ของความเป็นสังคมเมือง กระนั้นก็ตาม โดยภาพรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และการอยู่ร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างปกติสุข ท่ามกลางการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยว

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2557 – มกราคม 2558) หน้า 117-153) 

 

 

The Dynamics of the Pluralist Society and Diverse Cultures of the People in Koh Lanta, Krabi Province (1979- 2010)

 

Pornchai Nakseethong and Anin Puttichot

 

Abstract

 

The objective of this article is to study the developmental history of Koh Lanta, both economically and socially. This article will focus on the dynamics of the pluralist society and diverse cultures of the people in Koh Lanta, Krabi Province during the period of the official development of the tourism industry, beginning in 1979. This qualitative research has been conducted using the historical research method.

 

This study discovered that Koh Lanta is home to numerous ethnic groups, such as Sea Gypsies (Urak Lawoi and Morgan in particular), Thai-Muslim and Thai-Chinese. Each group has unique religious and cultural identities. Most of the indigenous population is fishermen and farmers. Considerable economic changes in Koh Lanta were initiated in the age of tourism development following the Thai government’s promotion of the national tourism industry in 1979.

 

By the time the island was registered as Koh Lanta National Park in 1990, Koh Lanta was well-known for its richness in natural resources and the uniqueness of its multiculturalism. As expected, the island became one of the centers of marine tourism in the area of the Andaman coastal areas of Thailand. Tourism has changed Koh Lanta considerably. Once an isolated self-sufficient community, it is now an open community. The substantial number of tourists and immigrants over this time has had a tremendous impact on the community in Koh Lanta.

 

One important example of change in the island’s economy is that the economy went from being agrarian and marine based, to one based on tourism and services. The increasing rate of investment fuelled the tourist industry’s expansion and also affected the community’s culture. Despite living in a multicultural society amid the rapid expansion of tourism, the people in Koh Lanta presently have been able to sustain their unique ethnic, religious, and cultural identity. They are still capable of living together in peace and harmony.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 10 Number 2 (August 2014 – January 2015) Page 117-153)

 

บทความ / Full Text : Download