“พุทธาวตาร” กับ “ทศรถชาดก” : พุทธในพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์-ฮินดูในพุทธ

แคทรียา อังทองกำเนิด

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในรูปพระนารายณ์อวตารหรือที่รู้จักกันในชื่อปางพุทธาวตาร และเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระรามในรูปพระโพธิสัตว์ โดยศึกษาจากนารายณ์สิบปาง คำกาพย์เรื่องพระศิวประติมา และทสรถชาดก ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในฐานะพระนารายณ์อวตารไม่ได้รับการยอมรับในปริบทสังคมไทยที่นับถือพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากนารายณ์สิบปางฉบับต่างๆ ไม่ปรากฏชื่อปางพุทธาวตาร มีเพียงลิลิตนารายณ์สิบปางที่คงชื่อปางดังกล่าวไว้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับปางนี้ เรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธาวตารปรากฏอีกครั้งในคำกาพย์เรื่องพระศิวประติมา แม้จะมีการกล่าวถึงเรื่องพุทธาวตาร แต่จะเห็นได้ว่าเรื่องราวที่ปรากฏเป็นไปในลักษณะการโต้ตอบความคิดเรื่องพระพุทธเจ้า คือพระนารายณ์อวตาร ส่วนเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระรามในรูปพระโพธิสัตว์กลับได้รับการยอมรับในสังคมไทย เนื่องจากในทสรถชาดก พระรามพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้รับการปรับเปลี่ยนฐานะให้กลายเป็นพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าพระชาติหนึ่ง และได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระรามให้เข้ากับคติความคิดแบบพุทธศาสนา

 

คำสำคัญ : พุทธาวตาร, ทสรถชาดก, พระโพธิสัตว์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559) หน้า 17-39) 

 

 

“Buddha Avatar” and the “Dasaratha Jataka” : Buddhism in Hinduism and Hinduism in Buddhism

 

Catthaleeya Aungthongkamnerd

 

Abstract

 

The purpose of this research is to examine the narratives that portray the Buddha as an avatar of Narayana (Vishnu) (also known as the Buddha Avatar) and the narratives that portray Phra Ram as a Bodhisattva. The texts chosen for analysis include Lilit Narai Sip Pang, the Verse of Shiva Pratima, and the Dasaratha Jataka. The analysis, on the one hand, reveals that the narratives that portray the Buddha as an avatar of Narayana (Vishnu) are not widely accepted in the context of Thai Buddhism. Among various versions of Narai Sip Pang, the Buddha Avatar only appears in Lilit Narai Sip Pang and no further details are given. This concept of the Buddha Avatar is also found in the Verse of Shiva Pratima, but it appears only in the form of a counter-narrative to the belief that the Buddha is really an avatar of Narayana (Vishnu). On the other hand, the narratives that portray Phra Ram as a Bodhisattva are more generally accepted in the religious context of Thai society. It is also found that in the Dasaratha Jataka, Phra Ram, one of the Hindu deities, was revised to be recognized as the Buddha in one of his previous lives. The narratives gradually were changed to adapted Phra Ram to conform to Buddhist beliefs.

 

Keywords : Buddha Avatar, the Dasaratha Jataka, Bodhisattva

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 12 Number 2 (July – December 2016) Page 17-39)

 

บทความ / Full Text : Download