มิใช่เพียงแค่ฉายา : สมญาดารากับอำนาจสื่อในการวิจารณ์พฤติกรรมและสร้างภาพตัวแทนบุคคลในวงการบันเทิงไทย

รัชนีกร รัชตกรตระกูล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตั้งฉายาดาราตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2558 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับบทบาทของฉายาดาราตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2558 

 

ผลการศึกษาพบว่าฉายาดาราที่นำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาทั้งสิ้น 112 ฉายา ปรากฏกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายในการตั้งฉายา ทั้งการใช้นามนัย การเล่นสัมผัส การเล่นคำ การดัดแปลงคำ การอ้างถึง การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การใช้ความเปรียบ การใช้สำนวน และการผวนคำ กลวิธีทางภาษาเหล่าสัมพันธ์กับบทบาทของฉายาดารา 2 ประการ บทบาทประการแรกคือ ฉายาดารามีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติ รวมถึงความสามารถในการทำงานของบุคคลในวงการบันเทิง บทบาท ประการที่สองคือ ฉายาดารามีบทบาทการประกอบสร้าง ตอกย้ำ และผลิตซ้ำ ภาพตัวแทนของบุคคลในวงการบันเทิง อันเป็นผลมาจากกระบวนการและบริบทเชิงเวลาในการตั้งฉายาดารา กล่าวคือสถาบันสื่อมวลชนร่วมกันคัดเลือกข่าวและเหตุการณ์ในรอบปีมาตั้งเป็นฉายาในช่วงปลายเดือนธันวาคมอันเป็นรอยต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ โดยนัยนี้ฉายาดาราจึงเป็นชุดความหมายอันเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์จากปีเก่า ที่พร้อมให้นำมาใช้ซ้ำในปีใหม่และปีต่อๆ ไป โดยมีสื่อสมัยใหม่เอื้อให้การเผยแพร่ชุดความหมายจากฉายาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็เก็บรักษาชุดความหมายให้สืบค้นได้อย่างไม่รู้จบ

 

คำสำคัญ : ฉายา, สมญานาม, กลวิธีทางภาษา, ภาพตัวแทน, บุคคลในวงการบันเทิงไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559) หน้า 95-132) 

 

 

Not Just a Nickname: Labels for Entertainers and the Media’s Power to Criticize the Behavior and Construct Representations of Entertainers

 

Ratchaneekorn Ratchatakorntrakoon

 

Abstract

 

This study aims to study the linguistic devices used for the construction of nicknames of Thai entertainers and to study the relationship between the linguistic devices in the role of assigning nicknames to Thai entertainers during 2005-2015.

 

The study reveals that there were several linguistic devices used for the construction of 112 labels during this period, namely; metonymy, assonance, puns, adaptation of words, allusions, verbal irony, metaphors, idioms, and spoonerisms. These linguistic devices relate to two roles in the assignment of nicknames to Thai entertainers. The first role is to criticize the behavior and performance of Thai entertainers. The second role is to construct, reinforce and reproduce the image of entertainers. The process – typically the selection of one event from the past year used as material for label construction – creates a nicknames of entertainers as a reminder of the event during the last year, which will continue to be used in the following year. Through social media, nicknames of entertainers are easily disseminated and preserved for repeated future searching.

 

Keywords : label, linguistic devices, representations, Thai entertainers.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 12 Number 2 (July – December 2016) Page 95-132)

 

บทความ / Full Text : Download