มโนทัศน์เรื่อง “ความศิวิไลซ์” ในสารคดีท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ยุคแรกของไทย

วรรณพร พงษ์เพ็ง

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษามโนทัศน์เรื่อง “ความศิวิไลซ์” ที่สะท้อนผ่านการนำเสนออัตลักษณ์ “วัดและวัง” ในเกาะรัตนโกสินทร์จากสารคดีท่องเที่ยวเรื่อง “นำเที่ยวกรุงเทพฯ ทางโบราณคดี” ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ในฐานะสารคดีท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เล่มแรกของไทย ที่มุ่งให้ความรู้ผู้อ่านเรื่องประวัติการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ผ่านหลักฐานทางโบราณคดีในพระราชวังและวัดหลวง อีกทั้งเป็นตัวอย่างเด่นชัดเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ “ความศิวิไลซ์” ของประเทศในสารคดีนำเที่ยวกรุงเทพฯ ยุคแรกที่มีอิทธิพลทางความคิดจากยุคจารีตเกี่ยวกับความเจริญทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สารคดีเป็นคู่มือนำเที่ยวเชิงวิชาการ

 

จากการศึกษาพบว่า มโนทัศน์เรื่อง “ความศิวิไลซ์” เป็นมโนทัศน์แบบจารีตที่ปัญญาชนราชสำนักสยามนำเสนอผ่านสารคดีวิชาการอย่างต่อเนื่อง ปรากฏเป็นภาพลักษณ์หลักของกรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางความเจริญทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา การนำเสนออัตลักษณ์วัฒนธรรมพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ มุ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของวัดและวังในมิติเรื่องการสร้างเมือง และศูนย์กลางความรู้ของประเทศ อัตลักษณ์ดังกล่าวปรากฏผ่านการเล่าประวัติวัดหลวงและพระราชวัง ลักษณะสถาปัตยกรรม รวมทั้งพุทธศิลป์ในฐานะหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงอารยธรรมพุทธศาสนา อันสืบทอดจากอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา มาสู่รัตนโกสินทร์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558) หน้า 35-61) 

 

 

The Concept of “Civilization” in the Early Bangkok Tourist Guide of Thailand

 

Vannaporn Phongpheng

 

Abstract

 

This article aims to analyze the concept of “civilization as” reflected by the representation of the identities of “State Temples and Palaces” on Rattanakosin Island from a documentary work entitled “Exploring Bangkok through archaeological tour” of M.C. Phunphitsamai Ditsakun. This book is the first Bangkok tourist guide influenced by conventional concept of civilization produced by the Siamese court that aimed to change Thais’ viewpoint “State about Temples and Palaces”, from being sacred spaces to being the center of Buddhist civilization. It is clear that this book is the exemplar of how civilization knowledge was constructed through the lens of an elite scholar in the early Bangkok tourism period, as well as the beginning of Bangkok tourism based on academic knowledge.

 

The study reveals that the concept of civilization is a conventional concept appearing in Thai elites’ works which has been used through times. In such a context, Buddhist Civilization is a prominent aspect of Thai civilization appearing in this sort of work. The image of Bangkok as a “Buddhist City” is the outstanding image in this book. The significance of Thai Buddhism in this term is portrayed as a tool for creation of Buddhist city and the establishment of state temples for learning by Thais. The identities of Buddhist culture are represented by the narration of the historical backgrounds. of state temples, palaces, and Buddhist architecture. The characteristics of Buddhist arts also portrays the continuous Buddhist civilization of Thai kingdoms from Sukhothai, Ayutthaya to the Rattanakosin period.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 2 (July – December 2015) Page 35-61)

 

บทความ / Full Text : Download