โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพน : ลักษณะเด่นด้านศิลปะการประพันธ์ในฐานะวรรณคดีประกอบทัศนศิลป์

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะเด่นด้านศิลปะการประพันธ์ในโคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ ในฐานะโคลงที่ใช้ประกอบศิลาจำหลักเรื่องรามเกียรติ์ที่พนักรอบพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน ผลการศึกษาพบว่า โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ใช้ศิลปะการประพันธ์อย่างหลากหลายเพื่อบรรยายภาพศิลาจำหลัก ได้แก่ การนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาให้เข้าใจภาพอย่างชัดเจนและเป็นระบบ การนำเสนอตัวละครให้มีชีวิตโดยใช้ภาษาจินตภาพและภาษาแสดงอารมณ์ความรู้สึก และการใช้ภาษาที่ไพเราะงดงามจากการเล่นเสียงเล่นคำ ผลจากการใช้ศิลปะการประพันธ์ดังกล่าวทำให้โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์มีความเหมาะสมในการใช้บรรยายภาพ เนื่องจากช่วยเสริมความเข้าใจเรื่องราวในภาพให้ชัดเจนขึ้น ช่วยสร้างจินตนาการอันกว้างไกลแก่ผู้ชม รวมทั้งมีรสแห่งเสียงและคำที่ไพเราะด้วย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558) หน้า 1-33) 

 

 

Khlong Phab Rueng Ramakien at Phra Chetuphon Temple : Literary Techniques for Visual Art

 

Thaneerat Jatuthasri

 

Abstract

 

This paper aims to analyze the dominant literary techniques of Khlong Phab Rueng Ramakien, the verse describing of the Ramakien bas-reliefs, at Phra Chetuphon Temple. The study reveals that there are many literary techniques used in Khlong Phab Rueng Ramakien in order to describe the pictures of the bas-reliefs: presenting the details of the circumstances of the pictures concisely and systematically, characterizing the characters in the pictures to be lively by using the language of imagery as well as the language expressing emotion, and using the beautiful language by playing with the sounds in words. As a result, Khlong Phab Rueng Ramakien is suitable to convey the story in the pictures in which it enables readers to better understand the pictures, helps arousing imagination to visualize the pictures and contains literary beauty.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 11 Number 1 (January – June 2015) Page 1-33)

 

บทความ / Full Text : Download