“เล้าข้าว” ภาพสะท้อนภูมิปัญญาของชาวนาในอีสาน

สุนิตย์ เหมนิล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาภูมิปัญญาและความเชื่อของชาวนาอีสานในการก่อสร้างเล้าข้าว วิธีการศึกษา คือ ศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ตีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ สร้างข้อสรุป และนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนา

 

ผลการศึกษาพบว่า เล้าข้าวเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชาวนาอีสาน การก่อสร้างต้องเลือกวัสดุที่มีคุณภาพดีและต้องคำนึงถึงครรลองปฏิบัติที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อน เช่น รูปทรง โครงสร้าง การวางตำ แหน่งและการหันทิศทาง ตลอดจนห้ามต่อเกยและนำวัสดุที่เคยสร้างเป็นเล้าข้าวมาทำเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ในปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวนาอีสานได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ค่านิยมใหม่ได้ทำลายภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวนา ส่งผลให้เล้าข้าวถูกลดบทบาทและความสำคัญลง

 

คำสำคัญ : เล้าข้าว, ภาพสะท้อน, ภูมิปัญญา, ชาวนาอีสาน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560) หน้า 101-119) 

 

 

Rice Barns: A Reflection of Isan Farmers’ Wisdom

 

Sunit Hemanil

 

Abstract

 

This article aimed to examine Isan farmers’ wisdom and belief in constructing rice barns. This was done by investigating related literatures and field surveying through in-depth interview. Semi-structured interview was also selected to collect the data. To analyze the data, all the acquired information was categorized, interpreted to view relation of the farmers’ wisdom and belief, and concluded to reveal toward descriptive results.

 

The findings found that a rice barn was so important to Isan farmers that they must pursue the following traditional sanctity: 1) only good quality of materials were selected to construct the rice barn, 2) shapes, structures, positioning, and direction of the rice barn must be according to their inherited sanctity, and 3) used materials of rice barn construction must not be utilized in housing construction. Unfortunately, the farmers’ ways of life today was altered according to globalization. New values had affected the old traditional wisdom and belief that a rice barn was overshadowed.

 

Keywords : rice barns, reflection, wisdom, Isan farmers

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 1 (January – June 2017) Page 101-119)

 

บทความ / Full Text : Download