ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเพณีขี่สัตว์แห่นาคกับสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเพณีขี่สัตว์แห่นาคกับสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

 

เกรียงไกร ฮ่องเฮ็งเส็ง

 

บทคัดย่อ

               

ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ปรากฏวัฒนธรรมการขี่สัตว์ในประเพณีแห่นาคก่อนเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เฉพาะในประเทศไทยปรากฏให้เห็นส่วนใหญ่ในจังหวัดแถบภาคกลาง ภาคตะวันตก และบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยสัตว์ที่นำมาให้นาคขี่มีทั้งสัตว์ที่มีชีวิตและหุ่นรูปสัตว์ที่จำลองขึ้นมา ซึ่งสัตว์ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับพุทธประวัติหรือชาดก ได้แก่ ม้า ช้าง วัว สำหรับม้าพบมากบริเวณภาคเหนือ ขณะที่ช้างพบมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวัวพบมากบริเวณภาคกลางกับภาคตะวันตก ส่วนสัตว์ในตำนานหรือวรรณคดี ได้แก่ หงส์ สิงห์ พบมากบริเวณภาคเหนือตอนล่างกับภาคใต้ ขณะที่สัตว์มงคลตามความเชื่อเรื่องปีนักกษัตร ได้แก่ ไก่ พญานาค เสือ และสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพหรือวิถีชีวิตของนาคและครอบครัว ได้แก่ ควาย ปลา จระเข้ เป็นต้น พบได้หลายจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ในประเทศอินเดียและประเทศเนปาลอันเป็นดินแดนต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนากลับไม่มีหลักฐานใดที่ปรากฏประเพณีขี่สัตว์แห่นาคหรือเรียกชื่อผู้ที่กำลังเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุว่า “นาค” จึงเป็นที่มาของความสนใจศึกษา “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเพณีขี่สัตว์แห่นาคกับสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา”

 

คำสำคัญ:แห่นาค ปฏิสัมพันธ์ สัญลักษณ์ ทางพระพุทธศาสนา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) หน้า 1-29)

 

INTERACTION BETWEEN RIDING Animals IN ORDINATION CEREMONY Parades AND BUDDHIST SYMBOLISM

    

Kriangkrai Honghengseng

 

Abstract

 

Almost all countries in Southeast Asia where the people follow Buddhism, such as in the Kingdom of Thailand, the Republic of the Union of Myanmar, the Lao People's Democratic Republic and the Kingdom of Cambodia, have the culture of riding animals in ordination ceremony parades. In particular, this can be seen in Thailand covering many central, western and some northern and northeastern areas. The animals that are used include both living animals and simulated animals that are related to the legend of the Buddha consisting of horses, elephants and cows: horses in the northern region; elephants in northeastern; and cows both in the central and western areas. Animals in legends or literature, such as swan and lion, are found in the lower northern and southern areas. In addition, there are sacred animals in the Chinese zodiac belief, such as chickens, king of nagas and tigers. Also animals related to work or the way of life of the naga and his family, such as buffalo, fish and crocodiles, can be found in many areas of Thailand. It can be seen that in India and Nepal, the place of the origin of Buddhism, there is no tradition to call a man who will be the monk as a “naga” and there is also no animal riding culture in ordination parades. Therefore, it is interesting to study the interaction between animal riding in ordination ceremony parades and Buddhist symbolism. 

 

Keywords: Ordination Ceremony Parade, Interaction, Symbolic, Buddhism

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 2 (July-December 2019) Page 1-29)

 

บทความ / Full Text : 1_Kringkrai.pdf