สตรีในเพลงรำวงมาตรฐานของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

สตรีในเพลงรำวงมาตรฐานของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

 

ธนสิน ชุตินธรานนท์

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์คุณสมบัติของสตรีที่ได้รับการนำเสนอในเพลงรำวงมาตรฐานทั้ง 6 เพลงของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ผลการศึกษาพบว่าเพลงดังกล่าวนำเสนอคุณสมบัติของสตรีไทยที่พึงปรารถนาท่ามกลางสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งสิ้น 3 ประการ ได้แก่ 1) สตรีไทยพึงงดงามตามขนบ  กล่าวคือ ในบทร้องเพลงรำวงมาตรฐานปรากฏชัดเจนถึงการชมความงามของสตรีว่างามราวกับดวงเดือนหรือดวงจันทร์ ซึ่งเป็นการสืบทอดขนบที่ปรากฏชัดเจนจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังปรากฏการชมคุณสมบัติด้านกิริยา และวาจาของสตรีอีกด้วย  2)สตรีไทยพึงเป็นดอกไม้ของชาติ กล่าวคือ ท่ามกลางภาวะสงครามที่ประเทศต้องการกำลังพลนั้น สตรีไทยพึงมีหน้าที่เฉกเช่นบุรุษ ซึ่งต้องมีความกล้าหาญ และทำหน้าที่ปกป้องขัณฑสีมา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นที่มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนทหารหญิงขึ้นครั้งแรกของประเทศ 3) สตรีไทยพึงรักบุรุษที่รักชาติ กล่าวคือ แม้ว่าผู้แต่งจะชื่นชมคุณสมบัติความงามทางกายภาพของสตรี แต่ในส่วนของบุรุษนั้น ผู้แต่งเลือกชื่นชมเฉพาะคุณสมบัติด้านความจงรักภักดีต่อชาติ อีกทั้งปรากฏว่าสตรีควรเลือกรักบุรุษที่มีลักษณะดังกล่าวนี้เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีการใช้เพลงในฐานะสื่อบันเทิงคดีทางวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทางการเมืองนั้น ปรากฏชัดเจนผ่านทำเนียบภาษาที่ผู้ประพันธ์ใช้ในบทร้อง กล่าวคือ ผู้แต่งเจตนาใช้ทำเนียบภาษาด้านการเมืองการปกครองในบทร้องเพลงทั้ง 6 เพลง กล่าวได้ว่าท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม สามารถใช้เพลงซึ่งเป็นสื่อบันเทิงคดีเพื่อชี้นำสังคมได้อย่างแยบคาย 

 

คำสำคัญ: การสื่อสาร, ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, เพลงรำวงมาตรฐาน, สตรีศึกษา, สื่อบันเทิงคดี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) หน้า 193-218)

 

 

 

Women in Thanphuying La-iad Phibunsongkhram’s Rumwong Songs

 

Thanasin Chutintaranond

 

Abstract

This article aims to detail an analysis of women’s qualifications in the lyrics of six rumwong songs’ that were composed by Thanphuying La-iad Phibunsongkhram. The results found that these songs represent three desired qualifications of Thai women during the World War II era. 1) Thai women should carry on Thai conventional of beauty. The lyrics disclose clear metaphorical comparisons from Thai literature convention that typically compares the beauty of women to the beauty of the moon. Moreover, good manners and good rhetoric are needed. 2) Thai women should be a flower of the nation. In accordance with the war situation, Thailand could not deny women power since everyone in the nation, whether man or woman, had a vital duty to protect the nation. This was related to the government’s policy to establish a female military school. 3) Thai women should love only patriotic men. While the lyrics admired the beauty of women, for men, faithfulness and patriotism to the nation were required. These qualifications are important and significant for women to consider before they chose their lover. Nevertheless, the composer intended to use the six rumwong songs as cultural entertainment to lead the society by harmoniously transmitting some political messages through the lyrics.

Keywords: Communication, Thanphuying La-iad Phibunsongkhram, rumwong songs, women studies, entertainment media

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 2 (July-December 2019) Page 193-218)

 

บทความ / Full Text : 7_Thanasin (2).pdf