กามนีแต่งตัว : นาฏยประดิษฐ์ผสานไทยกับจีน

กามนีแต่งตัว : นาฏยประดิษฐ์ผสานไทยกับจีน

 

ปรัชญา กลิ่นสุวรรณ

ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์

 

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นจากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์  ซึ่งมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะท่าทางพื้นฐาน  การแสดงออกของตัวละครพะบู๊ผู้ชายในนาฏศิลป์จีนกับนาฏศิลป์ไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ท่ารำชุดกามนีแต่งตัว โดยใช้การผสมผสานนาฏศิลป์จีนกับนาฏศิลป์ไทย  ผลในการศึกษาพบว่า การแสดงของตัวละครพะบู๊ผู้ชายในนาฏศิลป์จีนมีส่วนที่คล้ายคลึงกับลักษณะท่าทางของตัวละครในนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ผู้วิจัยเลือกนำจุดเด่นของนาฏศิลป์จีนมาออกแบบท่ารำให้กับตัวละครกามนีจากเรื่องราชาธิราช การแสดงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือช่วงเกริ่นนำความเป็นมาของตัวละคร ช่วงการรำอาบน้ำ ช่วงการรำแต่งตัวและช่วงรำอาวุธ ทำให้ได้กระบวนรำสำหรับการแสดงเดี่ยวของตัวละครพันทางเชื้อชาติจีนซึ่งไม่เคยมีผู้สร้างสรรค์มาก่อน

 

คำสำคัญ :นาฏยประดิษฐ์ ,กามนีแต่งตัว, นาฏศิลป์จีน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 223-236)

 

Kamani Taeng Tua: Thai and Chinese choreography

 

Prachya  Klinsuwan

Nataporn Ratanachaiwong

 

Abstract

This article is written based on creative research that aimed to study and compare the basic expression, posture and movement of a male fighter character in Chinese (classical opera) and Thai dance using the choreography for the “Kamani Taeng Tua” dance by using a mix of Chinese dance and Thai dance. As a result of the study, it was found that the Chinese male fighter character’s basic posture, movement and dance are very similar to Thai characters, as leading man, woman, giant and monkey characters. Main point of Chinese dance is then used for choreographing “kamani” who is the Chinese character in literature called “Rachatirat”. The show is divided into four parts: introduction part, bathing part, dressing part and weapon dance part. Eventually, there is solo dance choreography for Chinese character in “Lakorn Pantang” which has never been created before.

 

Keywords: Choreography, Kamani Taeng Tua, Chinese dance

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 223-236)

 

บทความ/ fulltext :  8_Prachya.pdf