การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละครเพลง : กรณีศึกษาหลายชีวิต

การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละครเพลง :  กรณีศึกษาหลายชีวิต

 

ปริดา มโนมัยพิบูลย์

 

บทคัดย่อ

 

ในงานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง “การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละคร เพลง : กรณีศึกษาหลายชีวิต” ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์กลวิธีและกระบวนการสร้าง บทละครเพลงจากวรรณกรรมเพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบทละครเพลง แบบหลายโครงเรื่อง ผู้วิจัยเลือกวรรณกรรมเรื่อง หลายชีวิต ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งมีการใช้กลวิธีการเล่าแบบหลายโครงเรื่อง มาพัฒนาเป็นบทละครเพลงที่ผู้ชมสามารถติดตามและเข้าใจทุกชีวิตของตัวละครได้และสามารถสื่อแก่นความคิดของเรื่องสู่ผู้ชมละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยเลือกที่จะรักษาการเล่าเรื่องแบบหลายโครงเรื่องอันเป็นรูปแบบที่โดดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้เอาไว้ในบทละครเพลงโดยเลือกเล่าทั้ง ๑๑ เรื่องย่อย ของ ๑๑ ตัวละครที่ปรากฎในวรรณกรรมให้ครบถ้วนทั้งหมด ผู้วิจัยตั้งต้นจากการสร้างบทละครพูดที่สมบูรณ์ขึ้นมาก่อนแล้วจึงพัฒนาจากบทละครพูดสู่บทละครเพลง ผู้วิจัยพบว่าการดัดแปลงเรื่องราวจากวรรณกรรม หลายชีวิต เป็นบทละครเพลงแม้จะมีหลายโครงเรื่องแต่ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้ชมติดตามเรื่องได้จนผู้ชมได้รับความคิดหลักในที่สุด

 

คำสำคัญ: การดัดแปลงบทละคร, การดัดแปลงวรรณกรรม, ละครเพลง, หลายชีวิต, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564หน้า 47-86)

 

 

 

 

A study of adaptation from a novel to a musical : A case study of Many Lives

 

 

Parida Manomaiphibul

 

 

Abstract

 

This practice-oriented research “A study of the adaptation from a novel to a musical: A case study of Many Lives” investigates thepossibilities of approaches and processes regarding creating a musical from literary text. The aim of this research is to gain knowledge of how to write a musical with multi-plot narrative.The researcher hasdecidedto adapt M.R. Kukrit Pramoj’s Many Lives, with its multi-storyline structure, into a musical with multi-plot structure that follows all 11 protagonists of 11 stories such that they can be understood and appreciated by the audience. This musical will effectively deliver its main message to the audience through its complex structure. The researcher has decided to keep all 11 storylines concerning 11 characters whose lives only interact in the same ferry accident. The researcher initially wrote a complete straight play, but subsequently revised it into a musical. It is found that the adaptation of Many Lives from literary text to musical theatre, despite its unconventional structure, can keep the interest of the audience, as well as effectively deliver its main message.

 

Keyword: Theatrical Adaptation, Literary Adaptation, Musical, Many Lives, Kukrit Pramoj, M.R.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 47-86)

 

 

บทความ/ fulltext :2_Parida (2).pdf