วรรณคดีไทยในหนังสืออ่านกึ่งวิชาการ (พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๒): การสร้างและเผยแพร่ความรู้นอกหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

วรรณคดีไทยในหนังสืออ่านกึ่งวิชาการ (พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๒): การสร้างและเผยแพร่ความรู้นอกหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

 

วรรณพร พงษ์เพ็ง

 

บทคัดย่อ

 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสร้างและเผยแพร่ความรู้วรรณคดีไทยในหนังสืออ ่านกึ่งวิชาการในระยะเวลา ๕ ปี(พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๒) เปรียบเทียบกับหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ (พ.ศ. ๒๕๕๑) โดยใช้แนวคิดเรื่องสังคมวิทยาวรรณคดี(Sociology of Literature) ร่วมกับแนวคิดเรื่อง “วงการ” (Field) ของปิแอร์ บูดิเยอร์ (Pierre Bourdieu) การศึกษาพบว่า การสร้างและเผยแพร่ความรู้ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยวรรณคดีวิจักษ์ (พ.ศ. ๒๕๕๑)ช่วยจรรโลงโครงสร้างวัฒนธรรมการศึกษาของชาติในด้านเนื้อหาแสดงให้เห็นเกณฑ์การคัดเลือกและการศึกษาวรรณคดีที่อิงกับตัวบทวรรณคดีมรดก โดยมีวรรณคดีประเภทสุภาษิตและคำสอนจำนวนมากที่สุด วิธีอธิบายเนื้อหาเน้นคุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์และภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งฝีมือการประพันธ์ของกวีราชสำานัก กระบวนการดังกล่าวมีลักษณะที่ต่างไปจากหนังสืออ่านกึ่งวิชาการดังพบว่า หนังสือกลุ่มนี้ผลิตและเผยแพร่โดยนักวิชาการนอกวงการวรรณคดีไทยเนื้อหา มุ่งนำเสนอเกร็ดความรู้และตั้งคำถามเรื่องคุณค่าของวรรณคดีไทยในหนังสือเรียนโดยมีกระบวนการผลิตและเผยแพร่ที่เป็นอิสระจากรัฐ ส่งผลให้ความแพร่หลายและความรับรู้อยู่ในวงจำกัด และขาดความต่อเนื่อง ความรู้ทางวรรณคดีไทยเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) สำหรับนักวิชาการ เพราะทำให้เกิดเครือข่ายความรู้ในระบบการศึกษา ในขณะเดียวกันความรู้เหล ่านี้ก็เป็นทุนทางวัฒนธรรมสำหรับนักวิชาการอิสระ และนักสื่อสารความรู้ในสื่อใหม่ เพราะสร้างรายได้และสร้างพื้นที่ให้ผู้ผลิตในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อใหม่ การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นการต่อรองความหมายของความรู้แบบจารีตในวงการวรรณคดีที่ยังยึดโยงกับการกระจายความรู้จากศูนย์กลาง เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงหน้าที่เดิมของวรรณคดีในระบบ
การศึกษาของชาติ

คำสำคัญ: หนังสืออ่านกึ่งวิชาการ, วรรณคดีไทย, แนวคิดเรื่องวงการของปิแอร์ บูดิเยอร์, สังคมวิทยาวรรณคดี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2565) หน้า 121-160)

 

 

 

 

Thai Literature in semi-academic pocketbooks (2015-2019 A.D.): The production and dissemination of knowledge outside the Fundamental Thai Textbook‘Wannakhadivichak’ (2008 A.D.)

 

Vannaporn Phongpheng

 

Abstract

 

This study aims at analyzing the production and dissemination of Thai literature in semi-academic pocketbooks (2015-2019 A.D.), as compared to the Fundamental Thai Textbook ‘Wannakhadivichak’ (2008 A.D.) by applying the concept of Pierre Bourdier regarding the sociology of literature and the “field”. The study found that the process of production and dissemination of Thai literature textbooks has sustained the cultural structure of national education. It can be seen that the content in textbooks reveals the criteria used for the type selection based on Thai literature heritage produced by the Royal Society of Literature and that produced by elite scholars of Siam. In this production process, didactic literature has been selected to be the important data to explain the value of literature as an esthetic production of elite writers and a reflection of traditional Thai society and culture. Such a process is different from the production of non-textbooks, where it was found that such textbooks are produced by those outside the Thai literature field. The content of such textbooks aims to explain bits of knowledge outside textbooks and question the concept of values in mainstream Thai literaturetextbooks. The production of non-textbook outside the national education system results in limited audiences, short-term life and inconsistent dissemination. KnowledgeofThai literature is a cultural capital for academicians inside and outside the field of literature. For insiders, knowledge of literature contributes to an academic network in the national education system; whereas for outsiders, Thai literature is to make income and provide visibility in publication and modern knowledge platforms. In conclusion, this study reveals that the characteristics of knowledge bargaining in the field of Thai literature still clings to the national education system because of the transformation of the function of Thai literature by the national education
sector.

 

Keywords: Semi-academicpocketbooks,ThaiLiterature,FieldofPierreBourdieu, Sociology of Literature

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 1 (January – June 2022) Page 121-160)

 

บทความ/ fulltext : 5_Vannaporn.pdf