การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

เทพ บุญตานนท์

 

บทคัดย่อ

 

หลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ข้าวได้กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสยามซึ่งมาพร้อมกับความต้องการผลผลิตข้าวของต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้รัฐบาลสยามต้องขยายพื้นที่ทางการเกษตรด้วยการขุดคลองเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายพื้นที่ทางการเกษตรไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น แต่อัตราการตายของปศสุัตว์ทั้งที่ใช้ในการเกษตรและการบริโภคอย่าง โค กระบือ สุกร และแกะ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐสยามนำเข้าความรู้และวิทยาการจากตะวันตก รัฐบาลได้ตัดสินใจว่าจ้างสัตวแพทย์ชาวตะวันตกเข้ามารับราชการ พร้อมกับก่อตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ขึ้นเพื่อผลิตสัตวแพทย์ชาวไทย ในเวลาไม่นานความรู้ด้านสัตวแพทย์จากตะวันตกถูกนำมาใช้ควบคุมโรคระบาด ด้วยการกักกันสัตว์ที่ติดโรคและการฉีดวัคซีนป้องกัน นอกจากนี้อิทธิพลจากตะวันตกเรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ก็ทำให้รัฐบาลหันมาพิจารณากฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของสัตว์พาหนะที่ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

 

คำสำคัญ: การสัตวแพทย์, ปศุสัตว์, รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สยาม

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 1-25)

 

 

 

Modern veterinary medicine of the Siamese government during the reign of
King Chulalongkorn

 

Thep Boontanondha

 

Abstract 

 

After signing the Bowring Treaty in the reign of King Mongkut, rice became the most significant export of Siam. At the same time, the demand for rice rapidly increased in foreign countries. Therefore, the Siamese government expanded the cultivated area by constructing more canals. However, expanding the cultivated area was not the only factor needed to increase the agricultural product. Decreasing the mortality rate of food-producing animals, including cattle, buffaloes, pigs and sheep, was another factor contributing to the increase of agriculture products. Therefore, during the reign of King Chulalongkorn, which was the age that Siam received knowledge and technology from the West, the Government decided to hire Western veterinarians to serve the government. Simultaneously, a school of veterinary medicine was established for training Thai veterinarians. After that, the knowledge of veterinary science was used to prevent and control epidemics in animals through animal quarantine and vaccination. Furthermore, the influence of the West on animal welfare also encouraged the government to enact laws relating
to animal welfare of livestock that would be sent to foreign countries.

 

Keywords: Veterinary medicine, livestock, the Reign of King Chulalongkorn, Siam

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 1-25)

 

บทความ/ fulltext : 1_Thep.pdf