พลวัตและวิธีคิดในการประกอบสร้างเทศกาลสงกรานต์ -วันไหลในภาคตะวันออกของไทย

พลวัตและวิธีคิดในการประกอบสร้างเทศกาลสงกรานต์ -วันไหลในภาคตะวันออกของไทย

 

ชลธิชา นิสัยสัตย์  

ปรมินท์ จารุวร

 

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีคิดในการประกอบสร้างเทศกาลสงกรานต์-วันไหลในภาคตะวันออกของไทยและวิเคราะห์พลวัตของประเพณีสงกรานต์ อันเป็นผลมาจากวิธีคิดในการประกอบสร้างดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า เทศกาลสงกรานต์-วันไหลเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรับใช้คติชนประเภทต่างๆในท้องถิ่น โดยเฉพาะประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อ และการละเล่น มาเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนองานเทศกาลเพื่อการท่องเที่ยวของภาคตะวันออก มีวิธีคิดในการประกอบสร้างหลายลักษณะได้แก่การสืบทอดประเพณีพิธีกรรมที่มีอยู่เดิม การรื้อฟื้นประเพณีพิธีกรรมขึ้นมาจัดใหม่ การรวมประเพณีสงกรานต์กับประเพณีพิธีกรรมในเดือน ๕ เป็นงานเดียว และการผนวกรวมประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นเทศกาลท่องเที่ยว ทำให้เห็นพลวัตของประเพณีสงกรานต์จากพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านที่มุ่งเน้นความอุดมสมบูรณ์และความเป็นปกติสุขของชุมชนมาเป็นพิธีกรรมและ
การแสดงในบริบทการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

คำสำคัญ: เทศกาลสงกรานต์-วันไหล, พลวัตของคติชน, วิธีคิด, ภาคตะวันออกของไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม -มิถุนายน 2565) หน้า 61-92)

 

 

 

 

 

Dynamics and the ways of thinking in creating the Songkran-Wan Lai Festival in the Eastern Region of Thailand

 

Chonticha Nisaisat
Poramin Jaruworn

 

Abstract

 

This article aims to study the ways of thinking in creating the Songkran–Wan Lai festival in the eastern region of Thailand and to analyze the dynamics of the Songkran tradition resulting from the ways of thinking of such creation. The study reveals that the Songkran-Wan Lai festival is a
cultural occurrence to which various folklore in the locality has been applied, especially local traditions, rituals, beliefs and plays, to be a part of a tourist festival of the eastern region. There are various characteristics of creation, namely, transmission of existing traditions and rituals, revival of traditions and rituals, the combination of Songkran tradition with rituals in the fifth month to be the same festival, and a combination of rituals found in the eastern region to become a tourist festival, giving rise to the dynamics of the Songkran tradition from a rite of passage that focuses on fertility and peacefulness of communities to become a ritual with performance in the
context of tourism and the creative economy.

 

Keywords: Songkran–Wan Lai Festival, Dynamics of folklore, the ways of thinking, Eastern region of Thailand

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 1 (January – June 2022) Page 61-92)

 

บทความ/ fulltext :3_Chonticha.pdf