วารสารไทยศึกษา - ปีที่ 8 ฉบับที่ 2

 

 

1) คลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลง / วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

2) กลไกทางสังคมที่นำไปสู่ความเข็มแข็งของชุมชนภายใต้เงื่อนไขความหลากหลายของประชากร : กรณีศึกษาชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ริมคลองแสนแสบ / ศิริวรรณ ศิริบุญ

 

3) วัดกับมัสยิดริมคลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการดำรงอยู่ / รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

4) ผู้สืบทอดเป็นผู้ถือครอง มิใช่เจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม / สุกัญญา สุจฉายา

 

5) การพากย์-เจรจาหนังใหญ่ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่กำลังเลือนหาย / รัตนพล ชื่นค้า

 

6) วรรณกรรมกาเผือก : สมบัติของชุมชนไทยยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี / ดวงหทัย ลือดัง

 

7) พิธีเลี้ยงผีสะเอิงของชาวกูยที่บ้านละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ / พรรณวดี ศรีขาว

 

8) วัฒนธรรมการค้าขายแดนสองฝั่งโขง / สุมาลี สุขดานนท์

 

 

แนะนำหนังสือ

 

“พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์” / ศานติ ภักดีคำ

คลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลง

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของการขุดคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแรกขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งสภาพแวดล้อม ลักษณะทางกายภาพ ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนริมคลองแสนแสบซึ่งมีผลต่อบทบาทหน้าที่คลองและมิติทางวัฒนธรรมของชุมชนริมฝั่งคลอง

 

ผลการศึกษาพบว่า การขุดคลองแสนแสบในระยะเริ่มแรกมีสาเหตุหลักจากความต้องการเส้นทางสำหรับส่งกำลังบำรุงทางการทหารเมื่อคราวเกิดสงครามระหว่างไทยกับญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าสิบปี ภายหลังสงครามยุติลงคลองแสนแสบได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำสายหลักทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะเดียวกันก็เกิดการขยายตัวของเมือง
ตามออกมาด้วย

 

ความสำคัญของคลองแสนแสบมีมากขึ้นเป็นลำดับภายหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นี่และบาวริ่ง เนื่องจากการค้าขายกับต่างประเทศและการค้าภายในประเทศของไทยขยายตัวมากขึ้น มีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกพืชผลที่ใช้เป็นสินค้าออก โดยเฉพาะข้าวและอ้อยมากกว่าเดิมและบริเวณสองฝั่งคลองแสนแสบก็เป็นที่หนึ่งที่รัฐใช้เพื่อการนี้ โดยเกณฑ์แรงงานจากครัวเชลยที่ถูกกวาดต้อนมาทั้งชาวลาว แขกมลายู มอญ เขมร รวมถึงชาวจีนที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเมืองไทยจำนวนมากเป็นแรงงานในการผลิต บริเวณคลองแสนแสบจึงเป็นบริเวณที่มีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนตามเชื้อชาติของตน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในกรอบวัฒนธรรมของตนอย่างเสรีและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน

 

คลองแสนแสบได้รับการพัฒนา ปรับปรุง พร้อมทั้งรัฐได้จัดการบริหารการปกครองในท้องที่บริเวณสองฝั่งคลองให้เหมาะสมตามลำดับ จนในปัจจุบันมีเขตการปกครองที่มีคลองแสนแสบพาดผ่านถึง 18 เขต คลองแสนแสบที่มีประวัติยาวนานร่วม 200 ปีจึงยังคงเป็นเส้นทางน้ำที่แม้จะลดบทบาทในการเป็นเส้นทางคมนาคมหลักไป แต่ก็ยังคงมีฐานะเป็นคลองสำคัญในประวัติศาสตร์และเป็นเส้นทางสัญจรทางเลือกของคนกรุงเทพฯและเขตชานเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำที่มีประวัติทางวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่น่าสนใจอีกด้วย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 1-23) 

 

 

Saensaeb Canal : History and Development

 

Waraporn Chiwachaisak

 

Abstract

 

This research aims at studying the history of Saensaeb Canal, the first canal to be dug in the reign of King Rama III. The study focuses on the importance of the canal and the environmental, physical, social and cultural changes which have affected the role of the canal and the cultural dimension of the communities along the canal. 

 

The research found that the need to carry military supplies during the long-lasting war between Thailand and Vietnam during the reign of King Rama III of the Rattanakosin period was the main reason for digging the Saensaeb Canal. After the war, the canal became a waterway artery on the east side of the Chao Phraya River when the city was extended along the canal.

 

The importance of the Saensaeb Canal increased after the signing of the Burney and Bowring Treaties when there was an increase in local and international trade in Thailand. Also, plantations, especially rice and sugar cane, were expanded for exports. The land on the banks of the Saensaeb Canal was used for agricultural purposes, worked by a large number of war captives who were Lao, Malay, Mon, Khmer, as well as by Chinese laborers who had settled in Thailand. These ethnic groups lived in their own communities, freely led their traditional ways of life, and peacefully co-existed along the canal.

 

As time went by, the Saensaeb Canal was developed and improved. The government provided appropriate administration for the people on both sides of the canal. To date, there are 18 districts under the Bangkok Metropolitan Administration along the canal. The Saensaeb Canal, which was dug almost 200 years ago, is one of the most important canals in the history of Thailand, although it is no longer one of the main waterways. However, the Saensaeb Canal is an alternative traff ic route for people in Bangkok and its suburbs and an interesting canal with a diverse cultural heritage.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 1-23)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

 

 

 

 

กลไกทางสังคมที่นำไปสู่ความเข็มแข็งของชุมชนภายใต้เงื่อนไขความหลากหลายของประชากร : กรณีศึกษาชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ริมคลองแสนแสบ

ศิริวรรณ ศิริบุญ

 

บทคัดย่อ

 

ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ริมคลองแสนแสบ เป็นชุมชนที่ตั้งมานานกว่า 200 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดทุนนิยม การสร้างถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนสุขุมวิทได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจำนวน ความหลากหลายของประชากร และปัญหาสังคมนานาประการ คลองแสนแสบทำหน้าที่เป็นเสมือนปราการด่านสุดท้ายที่ป้องกันชุมชนจากปัจจัยคุกคามภายนอก อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางกายภาพเพียงประการเดียว ไม่สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน กลไกทางสังคมอันประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) ระบบคุณค่าและองค์กรทางสังคม 2) ทุนทางเศรษฐกิจ และ 3) ทรัพยากรบุคคล ทำหน้าที่เป็นปัจจัยหลักของการธำรงความเข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้แนะว่า ถึงแม้ชุมชนจะมีความเข้มแข็ง แต่ชุมชนแต่ละแห่งไม่สามารถดำรงอยู่ในรูปแบบของสังคมปิดได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การทำงานในรูปของหุ้นส่วนหรือภาคี และการดำเนินกิจกรรมชุมชนในรูปของการมีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่การยุติการทำงานแบบรวบอำนาจ การดำเนินงานตามแนวดิ่ง หรือการทำงานแบบมี “พิมพ์เขียว” จะทำให้สมาชิกในชุมชนเกิดสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่พร้อมจะร่วมกันแก้ไขและพัฒนา ทั้งในเชิงของความคิดและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 25-58) 

 

 

Social mechanism that lead to the strengthening of the community under the population dynamic : Case Study of Surao Ban Don Community

 

Siriwan Siriboon

 

Abstract

 

Surao Ban Don Community was settled in Bangkok more than 200 years ago. The community is situated on the banks of the Saensaeb Canal. The economic development of Bangkok under the concept of capitalism, which can be found in the construction of Phetchaburi Road and Sukhumvit Road, led to a drastic change in the size of the population, population diversity and community disorder. Saensaeb Canal acted as the last stronghold to protect the community from external threat. 

 

This study suggests that community sustainability cannot rely solely on physical advantages. Social mechanisms as measured in terms of three components, namely, a value system, economic capital and human resources, are the key factors for community solidarity. In addition, it is suggested that although a community is strengthened, each community cannot exist in the form of a closed society. The process of co-management should be channeled from the individual level, community organizations or groups within the community up to network building outside the community. Cooperation among households, schools and temples or mosques are the key success factors in strengthening public participation. Strategies in terms of top-down management should be reformed to bottom-up management. There is no specif ic model for co-management. Co-management varies with the unique conditions and characteristics of each area. The same basic “blue print” cannot be drawn. Joining in any community activities should be restructured from cooperation to participation. Participation means thinking, planning and working together. Community participation is a signif icant social mechanism for sustainable development.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 25-58)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

วัดกับมัสยิดริมคลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการดำรงอยู่

รุ่งอรุณ กุลธำรง

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาความเป็นมาของวัดกับมัสยิดริมคลองแสนแสบในกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่ส่งเสริมให้วัดกับมัสยิดดำรงอยู่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยวิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า วัดกับมัสยิดริมคลองแสนแสบในกรุงเทพมหานครมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีที่เริ่มมีวัดแสนแสบ (วัดแสนสุขในปัจจุบัน) บริเวณทุ่งแสนแสบ แล้วจึง
มีสุเหร่าบ้านครัว (มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ในปัจจุบัน) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อมีการขุดคลองแสนแสบเป็นทางคมนาคมจึงมีการสร้างวัดกับมัสยิดเพิ่มขึ้น จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งมีวัดในพระพุทธศาสนาประเภทวัดราษฎร์ 11 แห่ง กับมัสยิดในศาสนาอิสลาม 25 แห่ง รวม 36 แห่ง ทั้งนี้มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้วัดกับมัสยิดเหล่านั้นดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน คือ ปัจจัยทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์เมื่อมีการขุดคลองแสนแสบ ด้านสังคมของคนไทยกับมุสลิมเมื่อมีมุสลิมเข้ามาในท้องถิ่นแสนแสบ ด้านการนับถือพระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม และด้านศิลปะของวัดกับมัสยิดสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีความเจริญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันอันทำให้เกิดเป็นต้นแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เข้มแข็ง มั่นคง ของคนในสังคมที่มีการนับถือศาสนาต่างกันในกรุงเทพมหานคร

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 59-96) 

 

 

Buddhist Monasteries and Muslim Mosques Beyond Saensaeb Canal : Emergence and Existence

 

Rungaroon Kulthamrong

 

Abstract

 

This research article aims to explore and study the history of the emergence of Buddhist monasteries and Muslim mosques established along Saensaeb Canal in Bangkok. As well, the contributing factors in the continuation of the co-existence of these religious sacred places for worship and ceremony during the Rattanakosin period has been explored using historical research methodology and a physical survey. The research finds that the history of the emergence of monasteries and mosques began in the Thonburi period with the establishment of Saensaeb Temple (or Saen Suk Temple) in the area of the Saensaeb rice f ield, and then the Bankrua Mosque was erected (or Jamiulkhoyriyah Musjid) during the reign of King Rama I of the Rattanakosin period. From the reign of King Rama III onwards, after digging the Saensaeb Canal as a channel for transportation, many monasteries and mosques have been constructed until the present reign. There are a total of 36 religious places along the canal, 11 are community Buddhist monasteries and 25 are Muslim mosques.

 

A number of factors have contributed to the emergence and continuation of peaceful relations between those monasteries and mosques, such as historical and socio-cultural factors that have existed since the construction of Saensaeb Canal; social harmony between Thai and Muslim people in the community; religious commitment of residents; and the relationship of artistic interest and spiritual direction between monasteries and mosques in the Rattanakosin period. An environment that fosters social relationships of both religious and cultural groups is ref lected in the model of peaceful and harmonious interaction between people of different religious and spiritual beliefs in this Bangkok community.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 59-96)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

ผู้สืบทอดเป็นผู้ถือครอง มิใช่เจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

สุกัญญา สุจฉายา

 

บทคัดย่อ

 

แนวคิดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมีที่มาจากอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ค.ศ.2003 ของยูเนสโก ที่ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยมุ่งกระตุ้นให้ชุมชนมีจิตสำนึกที่จะปกป้องมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของตนเอง 

 

การสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการสงวนรักษา ประกอบด้วยผู้สืบทอด 2 ประเภท คือ ผู้สืบทอดองค์ความรู้ หรือสืบทอดมรดก ภูมิปัญญา และผู้สืบทอดวัฒนธรรม

 

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์บทบาทของผู้สืบทอดองค์ความรู้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากกรณีศึกษา 3 เรื่อง เป็นศิลปินด้านการแสดง 1 คน พระภิกษุ 1 องค์ และ ผู้เป็นร่างทรงผีบรรพบุรุษ 1 คน 

 

ผลจากงานวิจัยพบว่าผู้สืบทอดองค์ความรู้มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นผู้เต็มใจรับปฏิบัติดูแลรักษาและสืบทอดองค์ความรู้โดยตรง และยังเป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่กลุ่มชนรุ่นต่อไป ผู้สืบทอดเป็นบุคคลพิเศษ การได้องค์ความรู้หรือภูมิปัญญามาสืบทอดมีความยากลำบาก และต้องใช้เวลานานในการสืบทอด ส่วนที่แตกต่างคือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างสรรค์ ผู้สืบทอดที่เป็นศิลปินมีอิสระในการแสดงความเป็นปัจเจกเพียงแต่เป็นการสร้างสรรค์ภายในกรอบของขนบเดิม ส่วนผู้สืบทอดที่เป็นเจ้าพิธีมีการสร้างสรรค์น้อยกว่าหรืออาจไม่มีเลย เพราะต้องยึดตามขนบอย่างเคร่งครัด 

 

แม้ผู้สืบทอดจะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการสืบทอด แต่มิได้เป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญานั้นๆ เพราะมิได้มีสิทธิเชิงกฎหมาย จึงเป็นได้แต่เพียงผู้ถือครองภูมิปัญญาเท่านั้น

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 97-121) 

 

 

The Transmitter of Traditional Knowledge is the Holder, Not the Owner

 

Sukanya Sujachaya

 

Abstract

 

The concept of Intangible Cultural Heritage (ICH) is derived from UNESCO’s Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003, which emphasizes the identity and diversity of the culture of a community by encouraging consciousness in safeguarding their own cultural heritage. The transmission of ICH is a part of the preservation of ICH consisting of two kinds of holders: traditional knowledge holders and community culture holders.

 

This article focuses on the role of traditional knowledge holders, which are the core of the process of ICH’s transmission. Such roles are those of the three case studies: an artist, a Buddhist monk and an ancestral spirit medium. The research shows that both kinds of knowledge holders share a common characteristic – they are willing to preserve and hold the knowledge directly, as well as transmit such knowledge to the next generation. The holders are special people; their acquisition of knowledge is not easy and takes a long period in transmission.

 

However, it was also discovered that each of the two types of holders have some difference with each other. The difference concerns the aspects of knowledge transmission and the creativity of an artful holder who is free to express their individuality, but can only be created in the frame of old tradition. The holder who possesses knowledge on rites and ceremonies has little or no creativity because they have to adhere strictly to tradition and custom.

 

Although the knowledge holder has a crucial role in transmitting knowledge, they are not the owner of such knowledge because there is no legal right. Thus, they are always regarded as traditional knowledge holders.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 97-121)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

การพากย์-เจรจาหนังใหญ่ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่กำลังเลือนหาย

รัตนพล ชื่นค้า

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาองค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูวีระ มีเหมือน ครูผู้สืบทอดการพากย์-เจรจาหนังใหญ่จากหม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ ในสายของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูวีระ มีเหมือนเป็นคนพากย์-เจรจาหนังใหญ่ตามแบบแผนโบราณเพียงคนเดียวในปัจจุบันที่รักษาองค์ความรู้นี้ไว้

 

ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ ประกอบด้วย ขั้นตอนการฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่ การเจรจากระทู้และการเจรจาลอยดอก หลักการ ฝึกพากย์-เจรจาหนังใหญ่ทั้งหมด ๘ ข้อ ได้แก่ การฝึกใช้ฉันทลักษณ์ การฝึกประคบคำ การฝึกประคบเสียง การฝึกแบ่งพยางค์ การฝึกกระหนกคอ การฝึกผูกคำเจรจา การฝึกว่าทำนองพากย์-เจรจา การฝึกใช้สำเนียงพากย์-เจรจา ผู้วิจัยพยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้เรื่องการพากย์-เจรจาหนังใหญ่ในฐานะเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 123-150) 

 

 

The Recitation and Intoned Conversation of Nang Yai : The Fading Intellectual Cultural Heritage

 

Rattanaphon Chuenka

 

Abstract

 

This research aims to study the knowledge of the recitation and intoned conversation of Nang Yai (Large Shadow Puppet). The researcher interviewed Master Vira Mimuean who conserves and transmits the recitationintoned conversation style of Nang Yai from Master M.R. Charoonsawat Suksawat of Phraya Natthakanurak (Thongdee Suvarnaparata)’s school. At present, Master Vira Mimuean is the only one who has kept the traditional voice and Nang Yai recitation.

 

From the research, The researcher discovered that the knowledge of recitation-intoned conversation is composed of the practicice of recitationintoned conversation of Nang Yai, Kratoo and Loy dok conversation. There are eight steps in the recitation and intoned conversation which are Recognizing the prosody, Word compresses, Voice compresses, Dividing syllables, Using neck, Compounding conversation, Recognizing melodies, Recognizing intonations. The research focuses on the importance of the recitation and intoned conversation of Nang Yai in terms of the intellectual cultural heritage of the nation.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 123-150)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

วรรณกรรมกาเผือก : สมบัติของชุมชนไทยยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

ดวงหทัย ลือดัง

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมเรื่องกาเผือกและรวบรวมวรรณกรรมใบลานเรื่อง กาเผือกที่พบในชุมชนไทยยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 

 

ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทยยวนที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปยังรู้จักเรื่องกาเผือกและยังเข้าร่วมประเพณีเทศน์กาเผือก ผู้วิจัย ได้รวบรวมใบลานเรื่องกาเผือกตามวัดต่างๆ ในชุมชนไทยยวนแห่งนี้ รวม 6 ฉบับ การวิจัยครั้งนี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ชุมชนไทยยวนเห็นความสำคัญของมรดกทาง ภูมิปัญญาของตน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 151-172) 

 

 

Ka Phueak literature: Treasure of Thai Yuan Community, Amphoe Sao Hai, Changwat Saraburi

 

Duanghatai Luedung

 

Abstract

 

This article aims to study Ka Phueak literature in order to compile the original Ka Phueak palm leaf manuscripts in the Thai Yuan community, Amphoe Sao Hai, Changwat Saraburi.

 

The research reveals that the villagers aged over 60 years old are accustomed to the story and participate in the Ka Phueak chanting ceremony. Six copies of the manuscripts have been discovered in various Thai Yuan temples in the community. The ultimate aim of this research is to preserve the living tradition of Ka Phueak literature and Ka Phueak chanting ceremony in the Thai Yuan community and encourage the Thai Yuan community, especially the new generation, to realize and take part in the wisdom legacy of their ancestors.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 151-172)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

พิธีเลี้ยงผีสะเอิงของชาวกูยที่บ้านละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

พรรณวดี ศรีขาว

 

บทคัดย่อ

 

ผีสะเอิงเป็นผีบรรพบุรุษประจำสายตระกูลของชาวกูยที่บ้านละเอาะ อำเภอ น้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ คอยคุ้มครองดูแลรักษาลูกหลานและสามารถทำให้ ลูกหลานเจ็บป่วยได้เมื่อกระทำผิดจารีตประเพณี ทุกปีระหว่างเดือน 3 ถึงเดือน 6 ชาวบ้านจะจัดพิธีเลี้ยงผีสะเอิงขึ้น เพื่อแก้บนขอบคุณและเซ่นไหว้สักการะ พิธีนี้ช่วยสืบทอดความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ขณะเดียวกันก็ช่วยสืบทอดฮีตคองของชาวกูย บ้านละเอาะ ช่วยสั่งสอนลูกหลาน และสร้างความสัมพันธ์ให้คนในชุมชน รวมถึงสร้างกำลังใจให้แก่ปัจเจกบุคคล พิธีนี้สามารถตอบสนองความต้องการทางจิตใจของปัจเจกบุคคลและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนจึงดำรงอยู่ได้อย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 173-206) 

 

 

“Phi Sa Oeng” Worship of the Kui at Ban La-o, Amphoe Nam Kliang, Changwat Sisaket

 

Pannawadee Srikhao

 

Abstract

 

Phi Sa Oeng are the family lineage ancestral spirits of the Kui at Ban La-o, Amphoe Namkliang, Changwat Sisaket. Their duty is to protect and take care of their descendants. If their descendants break the custom, the spirits can cause them illness. Annually, during the third and sixth month, villagers will arrange the ancestral spirit worship in order to fulf ill their vows, thank and worship the spirits. This worship helps transmit the belief in ancestral spirits. At the same time, the worship helps to transmit the customary law of the Kui at Ban La-o, teaches descendants and unites the relationship between the people in the community. In addition, the worship helps to build spirit for individuals and can respond to the spiritual needs of individuals and build the strength of the community. These are the reasons why the worship has been practiced for a long time until the present.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 173-206)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

วัฒนธรรมการค้าขายแดนสองฝั่งโขง

สุมาลี สุขดานนท์

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้นำเสนอสภาพการค้าชายแดนตามเส้นเขตแดนไทย–ลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเป็นเส้นกั้นเขตแดน ซึ่งประกอบด้วยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อการค้าชายแดน ความสำคัญของการค้าชายแดนต่อวิถีชีวิตสองฝั่งโขง บทบาทของผู้คนสองฝั่งโขงในการพัฒนาการค้าชายแดน และผลกระทบของความสัมพันธ์ของผู้คนสองฝั่งโขงที่มีต่อการค้าชายแดน

 

ผลการศึกษาพบว่า การค้าชายแดนมีนัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนสองฝั่งโขง ในขณะที่ชาวลาวข้ามฝั่งโขงมาเพื่อซื้อหาสินค้าเพื่อยังชีพ ชาวไทยก็อาศัยการค้าขายในการเลี้ยงชีวิต ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของผู้คนสองฝั่งโขง ซึ่งเป็นชนชาติเดียวกันและดินแดนสองฝั่งโขงเคยเป็นดินแดนเดียวกัน นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้การค้าตลอดแนวสองฝั่งโขงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในฐานะญาติและมิตรทำให้ผู้คนสองฝั่งโขงร่วมกันกำหนดและพัฒนารูปแบบการค้าชายแดนที่สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิต จนการค้าชายแดนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสองฝั่งโขง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – มกราคม 2556) หน้า 207-227) 

 

 

Culture in Cross–border Trade along the Banks of the Mekong River

 

Sumalee Sukdanont

 

Abstract

 

This paper explores cross–border trade along the Thai–Laos border which is demarcated by the Mekong River and her tributaries. The paper covers the influence of the historical background of cross–border trade along the Mekong River; the significant of border trade to the lives of the people on the banks of the river; the role of the people along the banks of the river in the development of trade; and how the relationship of the people affects cross–border trade.

 

Cross–border trade plays a crucial role in the lives of the people along the banks of the river. The Lao depend mostly on Thai consumer products to sustain their lives and the Thai depend on border trading to make their living. The historical background of the same race and the same nation is the most important contribution to the existing of cross–border trade along the Mekong River. The close relationship of the people as friends and relatives creates a collaboration of the people in setting up and developing the trade pattern which is consistent with their way of life. As a result, cross–border trade has become part of the culture of the people living on the banks of the Mekong River.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 8 Number 2 (August 2012 – January 2013) Page 207-227)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

แนะนำหนังสือ "พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์"

ศานติ ภักดีคำ

 

 

เนื่องในโอกาสอายุ 96 ปี ของพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนและคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศล ในวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2555 และได้จัดพิมพ์หนังสือพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์เป็นที่ระลึกในงานนี้

 

พระราชเวที บรรณาธิการหนังสือ “พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์” ได้กล่าวถึง ความสำคัญของพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ และเหตุผลในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า 

 

วัดโพธิ์เป็นศูนย์รวมพระพุทธรูปที่มีในประเทศไทยเกือบทุกยุคทุกสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากหัวเมืองต่างๆ ที่ถูกทิ้งร้างบ้าง ที่ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังบ้าง รวม 1,248 องค์ ลงมาบูรณปฏิสังขรณ์หล่อพระศอต่อพระเศียรพระหัตถ์พระบาทบ้าง แล้วประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียง พระวิหารคด ประมาณ 800 กว่าองค์ นอกนั้น พระราชทานให้เจ้านายขุนนางนำไปประดิษฐานตามวัดวาอารามอื่นๆ…

 

หนังสือ “พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์” เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวข้างต้น วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดทำหนังสือพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์นี้นอกจากชี้ให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา คุณค่าที่สำคัญอันเก่าแก่แต่โบราณแล้ว ยังต้องการที่จะปลุกจิตสำนึกให้รู้จักรักษาสมบัติของชาติและพระพุทธศาสนาอันเป็นหน้าที่ที่ประชาชนคนไทยจะต้องช่วยกันรักษา…

 

ในปีพุทธศักราช 2555 นี้ ถือเป็นปีมงคลมีการฉลองพระพุทธชยันตี ครบ 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา วันที่ 4 มิถุนายน 2555 และในส่วนของวัดพระเชตุพน จะจัดงานฉลองอายุ 96 ปี พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน วันที่ 27 พฤษภาคม 2555 จึงถือโอกาสจัดพิมพ์หนังสือพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสอันเป็นมงคลดังกล่าวข้างต้น…

 

หนังสือพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 บท คือ 

 

บทที่ 1 พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงประวัติของวัดพระเชตุพนตั้งแต่แรกสร้าง ที่มาของ พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ โดยแบ่งเป็นพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ครั้งรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากหัวเมืองหรือพระอารามอื่น เช่น พระพุทธรูปที่เชิญมาจากเมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัย และเมืองลพบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปของวัดโพธารามเดิม และพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ครั้งรัชกาลที่ 3 และพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ครั้งรัชกาลที่ 4

 

บทที่ 2 พุทธศิลป์พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงแนวคิดเรื่องพระพุทธปฏิมากับการเป็นรูปแทนพระพุทธองค์ พระพุทธรูปปางต่างๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางต่างๆ ตามพระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระพุทธปฏิมาสมัยต่างๆ ภายในวัดโพธิ์ โดยอธิบายถึงพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปของไทย คือ พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปศิลปะลพบุรีหรือเขมรในประเทศไทย พระพุทธรูปศิลปะหริภุญชัย พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา พระพุทธรูปศิลปะธนบุรี และพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์

 

บทที่ 3 พระพุทธปฏิมาสำคัญวัดโพธิ์ เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงประวัติที่มาและลักษณะทางพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในวัดพระเชตุพน คือ พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธโลกนาถ หรือพระโลกนาถ พระพุทธมารวิชัย หรือพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ พระพุทธชินราช หรือพระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร พระพุทธชินศรี หรือพระนาคปรก พระป่าเลไลย หรือพระปาลิไลย พระพุทธศาสดา พระประธานศาลาการเปรียญ พระพุทธไสยาส พระนอนวัดโพธิ์ พระศรีสรรเพชญ และพระพุทธเจดีย์ที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธรูปประธานในพระวิหารทิศเหนือ มุขหลังพระพุทธรูปประธานในพระวิหารทิศใต้ มุขหลัง พระพุทธรูปประธานในพระวิหารทิศตะวันตก มุขหลัง พระพุทธรูปสำคัญในพระระเบียง พระพุทธรูปสำคัญในพระวิหารคด พระพุทธรูปสำคัญในพระระเบียงพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระพุทธรูปสำคัญในพระตำหนักวาสุกรี

 

บทที่ 4 จารึกฐานพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศานติ ภักดีคำ และอาจารย์พอพล สุกใส เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงจารึกฐานพระพุทธปฏิมาเดิมสมัยสุโขทัย จารึกฐานพระพุทธปฏิมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งอักษรและอักขรวิธีในจารึกฐานพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็นอักษรและอักขรวิธีที่ปรากฏในจารึกฐานพระพุทธปฏิมาเดิมสมัยสุโขทัย และอักษรและอักขรวิธีที่ปรากฏในจารึกฐานพระปฏิมาสมัยรัตนโกสินทร์ จากนั้นจึงเป็นคำอ่านจารึกฐานพระพุทธรูปในวัดพระเชตุพน คือ จารึกฐานพระพุทธรูปทิดไส จารึกฐานพระพุทธรูปผ้าขาวทอง จารึกฐานพระพุทธรูปพระเจ้าแสน จารึกฐานพระพุทธรูปพระนายคัมกอง จารึกฐานพระพุทธรูปแม่ศรีมหาตา จารึกฐานพระเจ้าตนนี้ และจารึกฐานพระพุทธรูปนายจอมเภรี ซึ่งค้นพบใหม่ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งจารึกพระนามพระพุทธรูปในศาลาการเปรียญและพระวิหารทิศซึ่งเป็นพระนามที่รัชกาลที่ 4 พระราชทาน

 

ด้วยเหตุนี้หนังสือ “พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์” จึงเป็นหนังสือที่มีความน่าสนใจเพราะเป็นการศึกษาพระพุทธปฏิมาของวัดพระเชตุพนแบบสหวิทยาการ กล่าวคือเป็นการศึกษาทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และศิลาจารึก เพื่อให้ข้อมูลหลักฐานมีความครอบคลุมรอบด้าน นอกจากนี้ในท้ายเล่มยังมีแผนผังตำแหน่งพระพุทธรูปในพระระเบียง พระวิหารคด ฯลฯ ลงไว้เพื่อผู้สนใจสามารถนำมาใช้เป็นคู่มือในการศึกษาได้ด้วยตนเอง

 

หนังสือ “พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์” จึงน่าจะเป็นหนังสือสำหรับผู้สนใจไทยศึกษาอีกเล่มหนึ่งที่อาจช่วยให้เรามีความเข้าใจพระพุทธรูปสำคัญในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้อย่างชัดเจนและรอบด้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และศิลาจารึก

 

 

หนังสืออ้างอิง

 

พระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง 2555.

 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (สิงหาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556) หน้า 229-232) 

 

 

 

Download