วารสารไทยศึกษาปีที่ 17 ฉบับที่ 1

 

1) ความสําคัญของเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๕ :หัวเลี้ยวแห่งวัฒนธรรมอิเหนาของไทย / ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

 

2) การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละครเพลง : กรณีศึกษาหลายชีวิต / ปริดา มโนมัยพิบูลย์

 

3) พลวัตของเรื่องเล่าและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการจําอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์ / กมลพรรณ ดีรับรัมย์  สารภีขาวดี

 

4) ประณามบทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในอําเภอเมืองอุบลราชธานี / สุทธินันท์ ศรีอ่อน

 

5) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกเกาหลีกับไทย / เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

 

6) วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย : กรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน / สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

ความสำคัญของเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๕ : หัวเลี้ยวแห่งวัฒนธรรมอิเหนาของไทย

ความสำคัญของเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๕ : หัวเลี้ยวแห่งวัฒนธรรมอิเหนาของไทย

 

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาการนำเสนอเรื่องอิเหนาในสมัยรัชกาลที่ ๕ และศึกษา ความสำคัญของผลงานเรื่องอิเหนาในสมัยดังกล่าวที่มีต่อวัฒนธรรมอิเหนาของไทย ผลการวิจัยพบว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องอิเหนาได้รับการนำเสนอในหลากหลาย ลักษณะ ทั้งที่เป็นการสืบทอดขนบเดิมและที่เป็นลักษณะใหม่ ผลงานเรื่องอิเหนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็น “ยุคทอง” ของเรื่อง อิเหนาเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอิเหนาในสังคม ไทยด้วย ทั้งด้านความแพร่หลายของเรื่องอิเหนา ด้านรูปแบบและการนำเสนอเรื่องอิเหนา ด้านการละครอิเหนา ด้านเนื้อหาหรือสำนวนของเรื่องอิเหนา และด้านอิเหนา ศึกษา อันสะท้อนให้เห็นว่ายุคสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็น “ยุคหัวเลี้ยวสำคัญ”แห่งวัฒนธรรม อิเหนาของไทย

 

คำสำคัญ: เรื่องอิเหนา, วัฒนธรรมอิเหนา, หัวเลี้ยว, สมัยรัชกาลที่ ๕

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 1-46)

 

 

 

The Significance of Inao during the Reign of King Chulalongkorn (r.1868-1910): A Transitional Period in the Thai Panji tradition

 

 

Thaneerat Jatuthasri

 

Abstract

 

This research aims to examine the presentation of Inao during the reign of King Chulalongkorn, as well as to analyse the significance of such Inao works towardthe Inao tradition.The article finds thatduring thatperiod, the Inao theme was presented in many kinds of art and cultural works in both traditional and new ways. The Inao works created at that time not only demonstrate that the reign of King Chulalongkorn was “a golden age” of Inao in Thailand, but also mark a significant turning point for Inao culture in many parts, including popularity, the forms and presentation, the style of performing art, the versions of Inao, andInao studies, indicating that the reign of King Chulalongkorn was “a transitional period” of the Inao tradition.

 

Keywords: Inao, the Panji/Inao tradition, transitional period, the reign of King Chulalongkorn

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 1-46)

 

 

บทความ/ fulltext :1_Thaneerat (1).pdf

 

 

 

 

การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละครเพลง : กรณีศึกษาหลายชีวิต

การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละครเพลง :  กรณีศึกษาหลายชีวิต

 

ปริดา มโนมัยพิบูลย์

 

บทคัดย่อ

 

ในงานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง “การศึกษาดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละคร เพลง : กรณีศึกษาหลายชีวิต” ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์กลวิธีและกระบวนการสร้าง บทละครเพลงจากวรรณกรรมเพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบทละครเพลง แบบหลายโครงเรื่อง ผู้วิจัยเลือกวรรณกรรมเรื่อง หลายชีวิต ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งมีการใช้กลวิธีการเล่าแบบหลายโครงเรื่อง มาพัฒนาเป็นบทละครเพลงที่ผู้ชมสามารถติดตามและเข้าใจทุกชีวิตของตัวละครได้และสามารถสื่อแก่นความคิดของเรื่องสู่ผู้ชมละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยเลือกที่จะรักษาการเล่าเรื่องแบบหลายโครงเรื่องอันเป็นรูปแบบที่โดดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้เอาไว้ในบทละครเพลงโดยเลือกเล่าทั้ง ๑๑ เรื่องย่อย ของ ๑๑ ตัวละครที่ปรากฎในวรรณกรรมให้ครบถ้วนทั้งหมด ผู้วิจัยตั้งต้นจากการสร้างบทละครพูดที่สมบูรณ์ขึ้นมาก่อนแล้วจึงพัฒนาจากบทละครพูดสู่บทละครเพลง ผู้วิจัยพบว่าการดัดแปลงเรื่องราวจากวรรณกรรม หลายชีวิต เป็นบทละครเพลงแม้จะมีหลายโครงเรื่องแต่ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้ชมติดตามเรื่องได้จนผู้ชมได้รับความคิดหลักในที่สุด

 

คำสำคัญ: การดัดแปลงบทละคร, การดัดแปลงวรรณกรรม, ละครเพลง, หลายชีวิต, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564หน้า 47-86)

 

 

 

 

A study of adaptation from a novel to a musical : A case study of Many Lives

 

 

Parida Manomaiphibul

 

 

Abstract

 

This practice-oriented research “A study of the adaptation from a novel to a musical: A case study of Many Lives” investigates thepossibilities of approaches and processes regarding creating a musical from literary text. The aim of this research is to gain knowledge of how to write a musical with multi-plot narrative.The researcher hasdecidedto adapt M.R. Kukrit Pramoj’s Many Lives, with its multi-storyline structure, into a musical with multi-plot structure that follows all 11 protagonists of 11 stories such that they can be understood and appreciated by the audience. This musical will effectively deliver its main message to the audience through its complex structure. The researcher has decided to keep all 11 storylines concerning 11 characters whose lives only interact in the same ferry accident. The researcher initially wrote a complete straight play, but subsequently revised it into a musical. It is found that the adaptation of Many Lives from literary text to musical theatre, despite its unconventional structure, can keep the interest of the audience, as well as effectively deliver its main message.

 

Keyword: Theatrical Adaptation, Literary Adaptation, Musical, Many Lives, Kukrit Pramoj, M.R.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 47-86)

 

 

บทความ/ fulltext :2_Parida (2).pdf

 

 

 

พลวัตของเรื่องเล่าและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน ในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์

พลวัตของเรื่องเล่าและกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน  ในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์

 

กมลพรรณ ดีรับรัมย์  

สารภี ขาวดี

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาพลวัตของเรื่องเล่าและ กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในรายการจำอวดหน้าจอ ช่วงฉ่อย เดอะซีรีย์ โดยเก็บ รวบรวมวิดีโอรายการจำอวดหน้าจอ ช่วงฉ่อยเดอะซีรีย์ตั้งแต่วันที่๖ มกราคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๒ รวม ๓๐ ตอน ผลการศึกษามีดังนี้วัตถุประสงค์แรก พลวัตของเรื่องเล่า แบ่งการวิเคราะห์เป็น ๒ ประเด็น ได้แก่ กลวิธีการเลือกเรื่องเล่า และกลวิธีการนำเรื่องเล่ามาปรับใช้(๑) ด้านกลวิธีการเลือกเรื่องเล่า พบว่าผู้ผลิตใช้วิธี การเลือกเรื่องมาจาก ๓ แหล่ง คือ เรื่องเล่าไทย เรื่องเล่าที่มาจากต่างประเทศ และ เรื่องเล่าที่ผูกเรื่องขึ้นจากแขกรับเชิญ เหตุการณ์ปัจจุบัน หรือแต่งขึ้นใหม่ส่วน (๒) ด้านกลวิธีการนำเรื่องเล่ามาปรับใช้พบ ๓ กลวิธีย่อย คือ การปรับเหตุการณ์ในโครงเรื่องการปรับตัวละครและการปรับชื่อเรื่องวัตถุประสงค์ที่สองกลวิธีการสร้าง อารมณ์ขันในรายการ แบ่งการวิเคราะห์เป็น ๒ ประเด็น ได้แก่ ลักษณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาให้เกิดอารมณ์ขัน (๑) ด้านลักษณะที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน พบ ๙ ลักษณะย่อย ได้แก่ อารมณ์ขันที่เกิดจากการล้อเลียนรูปลักษณ์ อารมณ์ขันที่เกิดจากการล้อเลียนวัยสูงอายุ อารมณ์ขันที่เกิดจากเรื่องที่มีนัยทางเพศ อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ความรุนแรง อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ความมีชื่อเสียง อารมณ์ขันที่เกิดจากการแสดงเป็นคน ๒ คน อารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้ท่าทางอารมณ์ขันที่เกิดจากการแต่งกาย และอารมณ์ขันที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์ ส่วน (๒) ด้านกลวิธีการใช้ภาษา พบ ๓ กลวิธีย่อย ได้แก่ การเล่นคำ การใช้ภาษาแสดง น้ำเสียงต่าง ๆ และการใช้คำถาม ผลจากการศึกษาทำให้เห็นว่ารายการจำอวดหน้าจอ ซึ่งอยู่ในสื่อบันเทิงประเภทโทรทัศน์มีลักษณะสอดคล้องกับวัฒนธรรมประชานิยม คือ เป็นรายการที่เน้นการผลิตเพื่อผู้บริโภคซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในสังคม และมีการใช้สื่อเป็น ตัวกลางสำคัญในการเผยแพร่ ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้รายการสามารถดำรงอยู่เพื่อ สร้างความสุขแก่ผู้ชมมาได้จวบจนทุกวันนี้นอกจากนี้รายการจำอวดหน้าจอ ช่วง ฉ่อย เดอะซีรีย์ ยังเป็นพื้นที่สำคัญที่ผู้ผลิตใช้เพื่อส่งเสริมให้เพลงพื้นบ้านไทยประเภท “เพลงฉ่อย” ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อมวลชน และทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ: จำอวดหน้าจอ, ฉ่อยเดอะซีรีย์, พลวัตของเรื่องเล่า, กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 87-120)

 

 

 

Dynamics of Narratives and Strategies of Humor Creation In Cham Uat Na Cho : Choi the Series

 

 

Kamonphan Deerabram

Sarapee Khowdee

 

Abstract

 

This article describes the results of a study that examined the dynamics of narratives and the strategies of humor creation in Cham Uat Na Cho: Choi the Series. The study collected data from 30 episodes aired from January6, 2019 to August 4, 2019.The findings show that interms ofnarrative dynamics, there are two issues: (1) story selection and (2) story adaptation. Story selection involves three sources: Thai stories; foreign stories; and guest-related stories that involve current events or new stories. Story adaptation includes three forms of adaptation: plot events; characters; and story names. Regarding humor creation strategies, two main strategies can be observed: (1) insertion of humorous features and (2) infusion of humorous language. The first strategy has nine features: physical appearance teasing; elderly people teasing; sexual implication; use of violence; reference to reputation; two-character acting; gestures; dressing; and the use of acting equipment. The second strategy involving language use has three features: word play; use of different voices; and use of questions. The findings indicate that the series Cham Uat Na Cho is TV media that conforms to popular culture. That is to say, this show was specially produced for specific consumers and generally recognized by most of them in society by using an important media for dissemination. As a result, Cham Uat Na Cho has brought entertainment to viewers until now. Moreover, it is an important tool that has promoted the local Thai music, “Pleng Choi”, to gain ground in mass media and to be more widely known.

 

Keywords: Cham Uat Na Cho, Choi the Series, Dynamics of Narratives, Strategies of Humor Creation

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 87-120)

 

 

บทความ/ fulltext : 3_Kanonphan (1).pdf

 

 

 

 

ประณามบทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี

ประณามบทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ในอำเภอเมืองอุบลราชธานี

 

สุทธินันท์ ศรีอ่อน

 

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาประณามบทพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีจากการศึกษาข้อมูลประณามบท พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากวัด ๑๑๕ วัด  และสถานที่สำคัญอื่น ๆ ๑๐ แห่งในอำเภอ เมืองอุบลราชธานีพบว่า มีพระพุทธรูปสำคัญ ๓๘ องค์แต่มีเพียง ๗ องค์เท่านั้นที่มีผู้สร้างประณามบทและบทสวดถวาย ได้แก่ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระเจ้าใหญ่ พระบทม์ พระแก้วไพฑูรย์ พระบทม์วัดกลาง พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อบรมโพธิสัตว์ พระแก้วโกเมน และหลวงพ่อเงินวัดปากน้ำ (บุ่งสะพัง) โดยประณามบททั้งหมด แต่งด้วยภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมภาษาไทย   จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (ก) แนวคิดการใช้ประณามบทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่เขตเมืองจังหวัดอุบลราชธานีมีแนวคิดหลักคือต้องการแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ตนนับถือ โดยมีการขอคำอำนวยพรให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ ผู้สวดประณามบท โดยพบได้จากโครงสร้างของประณามบท คือ ขึ้นต้นด้วยคาถาภาษา บาลีที่มีเนื้อหานอบน้อมต่อพระพุทธรูปองค์นั้น ๆ ช่วงกลางหรือท้ายใช้ทั้งภาษาบาลี และภาษาไทยซึ่งมีเนื้อความคล้องจองกัน เน้นให้เกิดสวัสดิมงคล ความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง มีลาภ และปราศจากอันตราย แนวคิดเช่นนี้เป็นการใช้ภาษาเชื่อมโยงถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันแสดงให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เพราะมนุษย์ไม่มีอำนาจและกังวลต่อการดำเนินชีวิตจึงมีแนวคิดพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านประณามบท    (ข)รูปแบบและการสื่อความหมายทางภาษา พบว่ารูปแบบภาษาประณามบท พระพุทธรูปทั้ง ๗ องค์แต่งเป็นบทร้อยกรองภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมประสาน กับภาษาไทย ภาษาบาลีมีบทบาทต่อการรังสรรค์ประณามบทเพราะเชื่อกันว่าเป็นภาษา ศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่าการใช้ภาษาบาลีและภาษาบาลีประสมภาษาไทยในประณามบทจะแตกต่างจากการแต่งประณามบทในวัฒนธรรมอื่น แต่กลับพบว่าแนวคิดเช่นนี้ เป็นมโนทัศน์เดียวกัน และประณามบทพระพุทธรูปทั้ง ๗ องค์เป็นการสร้างถ้อยคำ ในวัฒนธรรมพุทธศาสนาท้องถิ่นภาษาบาลียังคงเป็นภาษาที่จำเป็นถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีไว้สำหรับสื่อสารกับพระพุทธรูปองค์สำคัญที่ผู้คนในอำเภอเมืองอุบลราชธานีเคารพ ศรัทธาเมื่อพิจารณาจากแนวคิดการใช้ประณามบทภาษาบาลีและภาษาบาลีประสม ภาษาไทยทำให้ได้ข้อค้นพบว่า ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็น กรรมดีเป็นมงคลและให้ผลดีแก่ตนได้ บทบาทหน้าที่สำคัญของประณามบทคือเป็น เครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้สวดกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นั้น ๆ เพื่อแสดงเจตจำนง ตามที่ตนปรารถนา ดังนั้น ในทางจิตวิทยาประณามบทเป็นบทสำคัญที่ทำให้ผู้คนรู้สึก มั่นคง ปลอดภัย และสบายใจ ในทางภูมิวัฒนธรรมประณามบทมีผลจากความเชื่อว่าพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีศักดิ์สิทธิ์ จนส่งผลให้สร้างถ้อยคำสรรเสริญคุณแล้วขออำนวยพร

 

คำสำคัญ: ประณามบท, พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, อำเภอเมืองอุบลราชธานี

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 121-152)

 

 

 

 

Invocations for Buddha images in Amphoe Mueang Ubon Ratchathan

 

 

Suddhinan Srion

 

Abstract 

 

This research aims to explore the invocation for 38 sacred Buddha images found in the area of Mueang District, Ubon Ratchathani Province, using invocation gathered from 115 temples and 10 significant places in the vicinity of Muang District. The findings indicate that only seven highly revered Buddha images have invocations, written either in Pali or in both Pali and Thai: Phrachaoyai Inpaeng, Phrachaoyai Phrabot, Phrakaeo Phaithun, Phrabot Watklang, Phrachaoyai Ong Tueboromphotsat, Phrakeao Komen, and Luangphor Ngoen Wat Paknam (Bungsaphang). An analysis of the data suggests: a) the concept of invocation to worship sacred objects in the vicinity of Muang District, Ubon Ratchathani, is based on the wish of local people to pay respect to revered Buddha images in their area. The recitation asks for blessings of luck and good life for the reciter. The structure of the invocation consists of the beginning in Pali describing feelings of respect for each particular Buddha image, while the middle or the end parts use both Pali and Thai with the content about being blessed with fame and fortune, happiness and prosperity, wealth and safety. The invocation reflects the humbleness and vulnerability of man who needs to ask for protection from the sacred Buddha image; b) the language pattern and communicative style of the invocation for sacred objects in Ubon Ratchathani was written to pay respect to seven Buddha images in the form of poetry using Pali and a combination of Pali and Thai. Pali is considered a sacred language and thus is suitable for the invocation. The use of a Pali and Thai combination is different from invocations found in other cultures, despite sharing the same idea. The invocation for the seven Buddha images shows an inventive language depicting regional Buddhist culture that places an important role on the use of Pali. As most local people believe that paying respect to sacred objects will bring blessings, the role of the invocation is to establish a channel to allow people to communicate with the Buddha images and express their wishes. The invocation works as a psychological device to make people feel secure, safe and relaxed. Invocations were born out of the belief that the Buddha images of Ubon Ratchathani are sacred and therefore their merits deserve invocation.

 

Keywords: invocation, sacredBuddha images, Muang District, Ubon Ratchathani

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January-June 2021) Page 121-152)

 

บทความ/ fulltext : 4_Sudhinan (1).pdf

 

 

 

 

 

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกเกาหลีกับไทย

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกเกาหลีกับไทย

 

 

เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

 

บทคัดย่อ

 

ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏวัฒนธรรมการทำเครื่องประดับมุกมาเป็นระยะเวลานับพันปีเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผสมผสานกันระหว่างวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในป่าไม้และใต้ท้องทะเล กล่าวคือ ยางรักจากต้นรักและเปลือก หอยมุกที่มีสีสันสวยงาม ทั้งยังผสมผสานกันระหว่างงานช่างสองแขนงหลักคืองาน ช่างรักและงานช่างประดับมุกได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีไทยเวียดนาม เมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยงานศึกษาวิจัยด้านเครื่องประดับมุกในประเทศไทยส่วนใหญ่ พบหนังสือและบทความวิชาการเกี่ยวกับงานประดับมุกของไทยจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม แต่จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า องค์ความรู้ด้านงานประดับมุกของประเทศเกาหลีมีอยู่น้อยมากหรือแทบไม่ปรากฏเลย จึงเป็นที่มาของความสนใจเขียนบทความวิชาการเรื่องนี้เพื่อให้ข้อมูลด้านความแตกต่างระหว่างงานประดับมุกของไทยและเกาหลีทั้งในด้านวัตถุดิบ เครื่องมือ ลวดลาย เทคนิควิธีการ และการใช้ประโยชน์เพื่อให้นักศึกษาด้านศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมศึกษา ได้เข้าใจประวัติความเป็นมาและคุณค่าของงานประดับมุกที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีได้เป็นอย่างดี ขณะที่ช่างประดับมุกของไทยสามารถนำลวดลายและเทคนิควิธีการที่มีความแตกต่างกันมาใช้พัฒนาต่อยอดหรือปรับประยุกต์เป็นลวดลายใหม่ เพื่อรักษางานประดับมุกไทยทั้งในเชิงอนุรักษ์และริเริ่มผลงานแนวใหม่ในแบบศิลปะร่วมสมัยภายใต้แรงบันดาลใจจากงานประดับมุกเกาหลี

 

คำสำคัญ: เครื่องมุก, งานประดับมุก, ยางรัก

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 153-180)

 

 

 

The Comparison Between Thai and Korea Mother of Pearl Inlay

 

 

Kriangkrai Honghengseng 

 

 

Abstract

 

In East Asia and Southeast Asia, there has been mother of pearl inlay for more than a thousand years. Such work combines science and arts using materials from the land and sea, which are lacquer varnish and pearl oysters used by artisans of lacquer and mother of pearl inlay. Mother of pearl inlay appears in China, Japan, Korea, Thailand, Vietnam, Myanmar, Laos and Cambodia. Many books and academic articles in Thailand provide information about mother of pearl inlay in China, Japan and Vietnam, but only a few include information about the work in Korea. Accordingly, this article compares the differences between mother of pearl inlay in Thailand and Korea in terms of materials, tools, motifs, techniques and uses. The students in fine arts, history and cultural studies can learn about the origins and values of Thai and Korean mother of pearl inlay that reflects ways of life, societies and cultures. Furthermore, Thai mother of pearl inlay artists have used some particular techniques and motifs to create a new platform that can conserve traditional art in combination with contemporary art.

 

 

Keywords: Mother of pearl wares, Mother of pearl inlay, Lacquerware

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January – June 2021) Page 153-180)

 

บทความ/ fulltext :5_Kriangkrai (1).pdf

 

 

 

 

วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย : กรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน

วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย :  กรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน

 

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาวัจนกรรมการตอบการแสดง ความไม่พอใจในภาษาไทยกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันโดยมีคำถามการวิจัยว่า ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาอย่างไรในวัจนกรรมการตอบการแสดงความ ไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากัน และผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง เมื่อต้องเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมดังกล่าวในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยแบ่งเป็น ๑. แบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิด ให้เขียนตอบจำนวน ๒๐๐ คน และ ๒. การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน ๓๐ คน  ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีทางภาษาที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยใช้ในวัจนกรรม การตอบการแสดงความไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มีสถานภาพเท่ากันมีจำนวนทั้งสิ้น ๔ กลวิธีเรียงลำดับความถี่การปรากฏจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. กลวิธีทางภาษา แบบลดน้ำหนักความรุนแรง (ร้อยละ ๖๓.๕๐) ๒. กลวิธีทางภาษาแบบโน้มน้าวให้เชื่อ หรือคล้อยตาม (ร้อยละ ๒๒.๕๐) ๓. กลวิธีทางภาษาแบบสร้างและ/หรือเพิ่มความ ขัดแย้งในการสนทนา (ร้อยละ ๑๐.๐๐) และ ๔. กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชัน (ร้อยละ ๔.๐๐)  ส่วนผลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการ เลือกใช้กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจกรณีคู่สนทนาที่มี สถานภาพเท่ากันพบจำนวนทั้งสิ้น ๓ ประการเรียงลำดับความถี่การปรากฏจากมากไป หาน้อยได้ดังนี้๑. ปัจจัยที่คำนึงถึงผู้พูดและผู้ฟัง (ร้อยละ ๖๓.๕๐) ๒. ปัจจัยที่คำนึงถึง ผู้ฟัง (ร้อยละ ๓๐.๐๐) และ๓. ปัจจัยที่คำนึงถึงผู้พูด (ร้อยละ ๖.๕๐) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับคู่สนทนา   พฤติกรรมทางภาษาข้างต้นอาจมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม ๓ ประการ ได้แก่ ๑. การมีตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self) ๒. ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism) และความเป็นสังคมแบบไมตรีสัมพันธ์ (affiliative society)และ ๓. แนวคิดเรื่อง “สนุก”

 

คำสำคัญ: วัจนกรรมการตอบการแสดงความไม่พอใจ, กลวิธีทางภาษา, วัจนปฏิบัติ ศาสตร์แนวปลดปล่อย, ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม, ภาษากับวัฒนธรรม

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 17ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564) หน้า 181-246)

 

 

 

Responding to a Complaint in Thai: A Case Study of Interlocutors with Equal Status

 

 

Sittitam Ongwuttiwat

 

 

Abstract

 

The purpose of this research article is to examine the linguistic strategies in responding to a complaint by Thai native speakers with equal status. There were research questions on how Thai native speakers adopt linguistic strategies in responding to a complaint; a case study of interlocutors with equal status; and what factors are Thai native speakers concern with when adopting linguistic strategies in responding to a complaint. The data were collected in the form of Written Discourse Completion Task (WDCT) and in-depth interviews (200 for the WDCT and 30 for the in-depth interviews).  The linguistic strategies were categorized into four groups, presented with the accompanying percentages of frequency of linguistic strategies in descending order: 1. mitigative linguistic strategies (63.50 %); 2. persuasive linguistic strategies (22.50%); 3. conflict linguistic strategies (10.00%); and 4. sarcastic linguistic strategies (4.00%).  An analysis of the motivational concerns of native speaker reveals that there are three types of motivational concerns, presented with the accompanying percentages of frequency of motivation concerns: 1) motivational concerns relating to the speaker and hearer (63.50 %); 2) motivational concerns relating to the hearer (30.00 %); and 3) motivational concerns relating to the speaker (6.50 %). It was foundthatThai speakersplace a priority on maintaining a relationship with the interlocutor. Such linguistic behavior might be motivated by three sociocultural factors: 1) aninterdependent view of self; 2) collectivism andaffiliative society; and 3) the concept of “sanuk” or fun.

 

Keywords: Responding to a complaint, Linguistic strategies, Emancipatory pragmatics, Sociocultural factors, Language and culture 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 17 Number 1 (January -June 2020) Page 181-246)

 

 

บทความ/ fulltext :6_Sittitam (2).pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิงภาษาไทยบทความที่ ๑-๖ วารสารไทยศึกษาปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑

รายการอ้างอิงภาษาไทยบทความที่ ๑-๖ วารสารไทยศึกษาปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑

 

 

รายการอ้างอิง (1).pdf