วารสารไทยศึกษาปีที่ 18 ฉบับที่ 2

 

 

 

1) การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / เทพ บุญตานนท์

 

2) การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีไทยระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗ / ภาพิมล อิงควระ   โดม ไกรปกรณ์

 

3) ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา:รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย? / วรเมธ มลาศาสตร์

 

4) บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา / ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี   ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง

 

5) ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว:บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร / รัตนาวดี สวยบำรุง
ชัยรัตน์ พลมุข   กัญญา วัฒนกุล

 

6) กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama / บัณฑิต ทิพย์เดช

 

7) กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันของคู่สนทนาที่มีสถานภาพและความสนิทต่างกัน
ในภาษาไทย / สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

 

8) ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย /     ชาญวิทย์ เยาวฤทธา

การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

เทพ บุญตานนท์

 

บทคัดย่อ

 

หลังการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ข้าวได้กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสยามซึ่งมาพร้อมกับความต้องการผลผลิตข้าวของต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้รัฐบาลสยามต้องขยายพื้นที่ทางการเกษตรด้วยการขุดคลองเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายพื้นที่ทางการเกษตรไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น แต่อัตราการตายของปศสุัตว์ทั้งที่ใช้ในการเกษตรและการบริโภคอย่าง โค กระบือ สุกร และแกะ ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐสยามนำเข้าความรู้และวิทยาการจากตะวันตก รัฐบาลได้ตัดสินใจว่าจ้างสัตวแพทย์ชาวตะวันตกเข้ามารับราชการ พร้อมกับก่อตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ขึ้นเพื่อผลิตสัตวแพทย์ชาวไทย ในเวลาไม่นานความรู้ด้านสัตวแพทย์จากตะวันตกถูกนำมาใช้ควบคุมโรคระบาด ด้วยการกักกันสัตว์ที่ติดโรคและการฉีดวัคซีนป้องกัน นอกจากนี้อิทธิพลจากตะวันตกเรื่องการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ก็ทำให้รัฐบาลหันมาพิจารณากฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของสัตว์พาหนะที่ถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศ

 

คำสำคัญ: การสัตวแพทย์, ปศุสัตว์, รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สยาม

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 1-25)

 

 

 

Modern veterinary medicine of the Siamese government during the reign of
King Chulalongkorn

 

Thep Boontanondha

 

Abstract 

 

After signing the Bowring Treaty in the reign of King Mongkut, rice became the most significant export of Siam. At the same time, the demand for rice rapidly increased in foreign countries. Therefore, the Siamese government expanded the cultivated area by constructing more canals. However, expanding the cultivated area was not the only factor needed to increase the agricultural product. Decreasing the mortality rate of food-producing animals, including cattle, buffaloes, pigs and sheep, was another factor contributing to the increase of agriculture products. Therefore, during the reign of King Chulalongkorn, which was the age that Siam received knowledge and technology from the West, the Government decided to hire Western veterinarians to serve the government. Simultaneously, a school of veterinary medicine was established for training Thai veterinarians. After that, the knowledge of veterinary science was used to prevent and control epidemics in animals through animal quarantine and vaccination. Furthermore, the influence of the West on animal welfare also encouraged the government to enact laws relating
to animal welfare of livestock that would be sent to foreign countries.

 

Keywords: Veterinary medicine, livestock, the Reign of King Chulalongkorn, Siam

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 1-25)

 

บทความ/ fulltext : 1_Thep.pdf

 

 

 

การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗

การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗

 

ภาพิมล อิงควระ  

โดม ไกรปกรณ์

 

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของผู้หญิงไทยในการประกอบอาชีพผู้พิพากษา ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗ ซึ่งเป็นช่วงแรกของการที่ผู้หญิงประกอบอาชีพผู้พิพากษา คำถามหลักของบทความนี้คือ การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีไทยในช ่วง ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗ เกิดขึ้นในบริบทอย่างไร เหตุปัจจัยใดคืออุปสรรคของ สตรีในการประกอบอาชีพผู้พิพากษาในช่วงเวลานี้ เนื้อหาของบทความแบ่งออกเป็น ๔ หัวข้อได้แก่ ๑)การขยายโอกาสของสตรีในการศึกษาวิชากฎหมาย ๒)การกีดกันและ การเปิดโอกาสให้ผู้หญิงประกอบอาชีพข้าราชการตุลาการในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๙๗ ๓) กระแสเรียกร้องสิทธิสตรีระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๑๖ ๔) การประกอบอาชีพ ผู้พิพากษาหญิงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่ออธิบาย ให้เห็นถึงความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงในการประกอบอาชีพผู้พิพากษา ในสังคมไทยช่วง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗

 

คำสำคัญ:  ผู้พิพากษา, สตรี, ประวัติศาสตร์ไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 137- 160 )

 

 

 

Thai Female Judges During 2508-2517 B.E.

 

Phapimon Ingkavara

Dome Kraipakorn

 

 

Abstract

 

The research for this article aimed to study the history of Thai women judges during 2508-2517 B.E. (1965-1974 A.D.), which was the first period of women’s employment as judges. Key questions of the study were: what was the context in which Thai female judges were employed during 2508-2517 B.E. and what were the impediments to women judges during this period? The article is divided into four topics: 1) increase of women’s opportunities in law studies; 2) exclusion and opportunities for women to be judicial officials during 2471-2497 B.E. (1932-1973); 3) women’s rights, trends and movements during 2475-2516 B.E. (1932-1973); and 4) the employment of female judges during 2508-2517 B.E. (1965-1974). Historical methods were applied in this study to demonstrate the background and changes in female judges in Thai society during 2508-2517 B.E. (1965-1974).

 

Keywords: judges, female, Thai history

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 137 – 160 )

 

บทความ/ fulltext : 2_Phapimon.pdf

 

 

 

 

 

 

ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา: รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย?

ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา:
รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย?

 

วรเมธ มลาศาสตร์

 

บทคัดย่อ

 

ปัจจุบันพระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมายด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่และความประสงค์ของผู้สร้าง กระบวนการและวิธีการสร้างสะดวก ง่าย และรวดเร็ว พระพุทธรูปหลายชิ้นถูกวางขายตามท้องตลาด จนบางครั้งปราศจากคุณค่าและความหมายทางศาสนา จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านคัมภีร์และการสัมภาษณ์เจ้าพิธีกรรมผู้เชี่ยวชาญในการสร้าง “พระเจ้า”(พระพุทธรูป) ล้านนา พบว่ากระบวนการและวิธีการสร้างพระเจ้าของชาวล้านนามีความละเอียดพิถีพิถัน แต่ละขั้นตอนแฝงไปด้วยปริศนาธรรมที่ลึกซึ้ง ผู้เขียนพบว่าพิธีกรรมโบราณระหว่างการก่อพระเจ้าล้านนาหรือ “พิธีบรรจุธัมมกายพระเจ้า” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างพระเจ้าล้านนา แต่หลายคนมองข้ามหรือไม่รู้จัก นอกจากนั้นพิธีกรรมนี้สะท้อนให้เห็นคติของชาวล้านนาที่ว่า พระพุทธรูปไม่ใช่เพียงเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้าหลังพุทธปรินิพพาน แต่คือพระพุทธองค์ที่ทรง “ธรมาน”(ทรงดำรง) อยู่ในสังสาร ปรากฏอยู่ด้วย “พระธัมมกาย” ดังนั้นบทความชิ้นนี้มุ่งเน้น
ศึกษาพิธีกรรมการสร้างและบรรจุธัมมกายพระเจ้า เพื่อหาวัตถุประสงค์และมุมมองการสร้างพระเจ้าของนักปราชญ์ล้านนา ตลอดจนไขปริศนาธรรมที่แฝงไว้ในพิธีกรรมนี้ด้วย

 

คำสำคัญ: พระพุทธรูป, ธรมาน, ธัมมกาย, ล้านนา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 57- 80 )

 

 

Dhamma Puzzles from Buddha Image Construction in Lanna: An Image of
the Buddha or Dhammakāya?

 

Woramat Malasart

 

Absract

 

Today, a number of Buddha images have been constructed with multiple purposes depending on the area and the wishes of donors.The processes and methods in the modern day are convenient, easy and fast. Some of the images are sold in markets without the element of religious meaning. According to an analysis of manuscripts and interviews, Buddha image construction in Lanna consists of elaborated rituals and detail and each procedure contains doctrinal meaning and profound Dhamma puzzles. The finding of this study reveals that the ancient ritual called “the installation of the Dhammakāya of the Buddha” has played a significant role in Lanna Buddha image construction, but has been neglected and is unknown by some
modern practitioners. This reflects the idea that a Buddha image is not perceived as “a reminder of the passing one,” but rather “the Buddha himself” who exists in the world by means of the “dhammakāya.” The research for this article aimed to study the construction and installation of the Dhammakāya in order to identify the purposes and perspectives of experts and intellectuals
in the past associated with this issue. The study also found Buddhist religious doctrines underlined the performance.

 

Keywords: Buddha image, Dharamāna, Dhammakāya, Lanna

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 57- 80 )

 

บทความ/ fulltext : 3_Woramat (1).pdf

 

 

 

บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา

บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา

 

ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี  

ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา โดยศึกษาจากวรรณกรรมค่าวซอที่ตีพิมพ์ด้วยอักษรธรรมล้านนาในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๙๘ จำนวน ๒๔ เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าบทบาทหน้าที่ของดนตรีสามารถแบ่งออกเป็น ๕ รูปแบบ ได้แก่ การบรรเลงสำหรับการต้อนรับ พบ
ในฉากการต้อนรับตัวละครสำคัญที่กำลังเดินทางเข้าเมือง การบรรเลงประกอบการเดินทาง พบในฉากตัวละครสำคัญเตรียมการเดินทางและระหว่างการเดินทาง การบรรเลงในงานมหรสพ พบในฉากการจัดมหรสพสมโภชตัวละครสำคัญขึ้นครองเมืองและอภิเษกสมรส การบรรเลงขับกล่อม พบในฉากการบรรเลงขับกล่อมใน
ปราสาทพระราชวัง และการบรรเลงให้สัญญาณ พบในฉากที่ตัว ละครสำคัญต้องการส่งสัญญาณแจ้งให้ทราบ โดยบทบาทหน้าที่ของดนตรีทั้ง ๕ รูปแบบที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา มีความสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทตำนาน ศิลาจารึก วรรณกรรม และบันทึกการเดินทางของชาวต่างชาติ

 

คำสำคัญ : บทบาทหน้าที่, ดนตรี, วรรณกรรม, ค่าวซอ, ล้านนา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 81-107)

 

 

 

The Roles of Music in Lanna Khao Saw Literature

 

Nuttapong punjaburi
Sirisarn Mueanphothong

 

 

Abstract

 

The research for this article aimed to study the role of music in Lanna Khao Saw literature. The researcher studied twenty-four pieces of Khao Saw literature published in the Lanna script between 1917-1955. The findings indicated that there were five roles of music: to welcome
the main characters on their way into the city; in scenes of the main characters preparing for journeys and during the journeys; for a festive celebration in Maho Rasop scenes when the main characters were crowned as kings or got married; in scenes of lullaby in the palace; and in scenes where main characters wanted to give signals. These five roles of music that appear in Lanna Khao Saw literature are consistent with the roles of music that appear in historical documents, including legends, inscriptions, literature and travel records of foreigners.

 

Keywords: Role, Music, Literature, Khao Saw, Lanna 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 81-107)

 

บทความ/ fulltext : 4_Nuttapong.pdf

 

 

 

 

ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว: บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร

ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว: บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร

 

รัตนาวดี สวยบำรุง  

ชัยรัตน์ พลมุข  

กัญญา วัฒนกุล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาบทบาทด้านการจัดสรรทรัพยากรของความเชื่อเรื่องผีมอญที่มีต่อสังคมชาวมอญเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากวิถีปฏิบัติและพิธีกรรมตามความเชื่อเรื่องผีมอญด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อเรื่องผีมอญแบ่งชาวมอญเจ็ดริ้วออกเป็นตระกูลผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีเต่า ผีไก่ ผีงู และผีปลาไหล นอกจากนี้วิถีปฏิบัติและพิธีกรรมตามความเชื่อเรื่องผีมอญ ยังมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรผ่านข้อกำหนดเกี่ยวกับสัตว์สัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงพิธีกรรมกับคนในตระกูลผี “การขโมย” วิถีปฏิบัติพิเศษที่เป็นการอนุญาตเชิงพิธีกรรม และข้อห้ามไม่ให้คนในตระกูลผีจัดงานภายในปีเดียวกัน บทบาทดังกล่าวเป็นจุดมุ่งหมายเบื้องหลังความเชื่อของชาวมอญในอดีตที่ถ่ายทอดและส่งต่อมายังชาวมอญเจ็ดริ้วในปัจจุบัน

 

คำสำคัญ: ความเชื่อเรื่องผีมอญ, การจัดสรรทรัพยากร, บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรม, ชาวมอญเจ็ดริ้ว

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 109-136)

 

 

 

Phi Mon Beliefs of the Chet Rio’s Mon Ethnic Community: Their Function as Resource Allocation Mechanisms

 

Ruttanawadee Suaybumrung
Chairat Polmuk
Kanya Wattanagun

 

 

Abstract

 

The research for this article studied the function of resource allocation toward the Phi Mon beliefs of the Chet Rio’s Mon ethnic community, Amphoe Banphaeo, Changwat Samutsakhon. The field data were collected from their ways of practices and rituals based on the Phi Mon beliefs through
interviews, observations and participatory observations. The study found that the Phi Mon beliefs have divided people in the Mon ethnic community into different spiritual families, namely Phi Tao, Phi Gai, Phi Ngu and Phi Pla Lhai. In addition, their ways of practices and rituals based on the Phi Mon beliefs have played a part in resource allocation through animal symbolism that connects ritual relations with these spiritual family members. Similarly, “stealing” is considered a special practice that provides ritual license and a taboo that forbids members of different spiritual families from celebrating in the same year. These functions are the objectives behind the beliefs of the Mon ethnic community that were developed in the past and have been carried on to the Chet Rio’s Mon ethnic community today.

 

Keywords: Phi Mon beliefs, resource allocation, functions of beliefs and rituals, Chet Rio Mon ethnic community

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 109-136)

 

บทความ/ fulltext : 5_Ruttanawadee.pdf

 

 

กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ@Rama

กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ@Rama

 

บัณฑิต ทิพย์เดช

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงกลวิธีทางภาษาที่นำเสนอความคิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ@Rama ซึ่งถือเป็นตัวแทนช่องทางในการนำเสนอทรรศนะเกี่ยวกับสุขภาพ โดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในด้านภาษา ประกอบกับการวิเคราะห์วาทกรรมในมิติทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ@Rama ได้นำเสนอความคิด อุดมการณ์ และวาทกรรมเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ผ่านกลวิธีทางภาษา ๒ กลวิธี ประกอบด้วย กลวิธีทางศัพท์ และกลวิธี
ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์

 

คำสำคัญ: กลวิธีทางภาษา, ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 137-160 )

 

 

 

Linguistic strategies and the presentation of the Coronavirus 2019 in Variety for Health @Rama

 

Bandit Thipdet

 

 

Abstract

 

The research for this article aimed to illustrate the language strategy of presenting thoughts on the coronavirus 2019 in the magazine, Variety for Health @Rama, as a representative channel for public opinion on health. The principles of verbal analysis in language, together with an analysis of discourse in the social dimension, were used in this study. The results of the study found that the theme of Variety for Health @Rama presents ideas, ideology and discourse on the coronavirus 2019 through language strategies consisting of lexicalization and pragmatic strategies.

 

Keyword: Linguistic Strategies, Coronavirus 2019, Critical Discourse Analysis

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 137-160 )

 

บทความ/ fulltext : 6_Bundit.pdf

 

 

 

 

 

กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันของคู่สนทนาที่มีสถานภาพและความสนิทต่างกันในภาษาไทย

กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันของคู่สนทนาที่มีสถานภาพและความสนิทต่างกันในภาษาไทย

 

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

 

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาดังกล่าวกับปัจจัยเรื่องสถานภาพและความสนิทของคู่สนทนาผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิดให้เขียนตอบ (Written Discourse Completion Task ; WDCT) โดยกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยที่ใช้ในงานวิจัยมีจำนวน ๔๐๐ คน แบ่งเป็นเพศชาย ๒๐๐ คน และเพศหญิง ๒๐๐ คน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชันจำนวนทั้งสิ้น ๔๔ กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. กลวิธีทางภาษาแบบรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนา ๒. กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชัน ๓. กลวิธีทางภาษาแบบหยอกล้อหรือสร้างอารมณ์ขัน และ ๔. กลวิธีทางภาษาแบบทำให้เกิดความขัดแย้งในการสนทนา ส่วนกลวิธีทางภาษาที่กลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อพบจำนวนทั้งสิ้น ๔ กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. กลวิธีทางภาษาแบบรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่สนทนา ๒. กลวิธีทางภาษาแบบหยอกล้อหรือสร้าง อารมณ์ขัน ๓. กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชัน และ ๔. กลวิธีทางภาษาแบบทำให้เกิดความขัดแย้งในการสนทนาผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันกับปัจจัยเรื่องสถานภาพและความสนิทของคู่สนทนาพบว่าปัจจัยเรื่องสถานภาพและความสนิทของคู่สนทนามีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชันและถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อของผู้พูดภาษาไทยดังจะเห็นได้จากค่า p ของกลวิธีทางภาษาทั้งหมดต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่ ๐.๐๕๐(P<0.050)

 

คำสำคัญ: กลวิธีทางภาษา, การตอบถ้อยคำนัยผกผัน, สถานภาพของคู่สนทนา, ความสนิทของคู่สนทนา, วัจนปฏิบัติศาสตร์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 161-237 )

 

 

 

Linguistic strategies used for responding to verbal irony of different social status and intimacy interlocutors in Thai

 

 

Sittitam Ongwuttiwat

 

 

Abstract

 

This research had the primary objectives to study the strategies of responding to verbal irony in Thai and to analyze the relationship between responding strategies and factors concerning the social status and intimacy of interlocutors. Data used in this research were elicited from a sample of 400 respondents, of which 200 were male and 200 were female. The respondents
were asked to complete the Written Discourse Completion Task.
According to the results, the responding strategy to sarcastic verbal irony can be divided into four groups, ranked in order of frequency: 1) keeping relationship of interlocutor linguistic strategies; 2) sarcastic linguistic strategies; 3) humorous linguistic strategies and; 4) conflict linguistic strategies. The responding strategy to humorous verbal irony can be classified into four groups, ranked in order of frequency: 1) keeping relationship of interlocutor inguistic strategies; 2) humorous linguistic strategies; 3) sarcastic linguistic strategies; and 4) conflict linguistic strategies. Upon consideration of the relationship between the responding strategies and factors concerning the social status and intimacy of interlocutors, it is evident that factors concerning the social status and intimacy of interlocutors have an on the adoption of the responding strategies.
There were statistically significant differences in the responding strategies at a p-value of less than 0.050.

 

Keywords: Linguistic strategies, responding to verbal irony, social status and intimacy of interlocutors, Pragmatics

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 161-237 )

 

บทความ/ fulltext : 7_Sittitum.pdf

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย

ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย

 

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย และศึกษาเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันของผู้พูดภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทยจำนวน ๑๒๖ คนผ่านแบบสอบถามออนไลน์ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด ๑๐ สถานการณ์ผลการวิจัยพบว่า ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่ประเมินค่าให้ถ้อยคำนัยผกผันมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำบริภาษแบบตรงในปริบทที่ผู้พูดมีเจตนาบริภาษผู้ฟังสำหรับเหตุผลในการประเมินค่าถ้อยคำพบว่า ถ้อยคำที่แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม ใส่อารมณ์รุนแรง ไม่จริงใจ และทำให้เจ็บใจเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้พูดภาษาไทยประเมินค่าให้ถ้อยคำนัยผกผันมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำที่สั้น ห้วน และรุนแรงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้พูดภาษาไทยเลือกให้ถ้อยคำบริภาษแบบตรงมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำนัยผกผัน นอกจากนี้ เหตุผลด้านรูปภาษาก็มีผลต่อระดับความรุนแรงของถ้อยคำด้วยเช่นกัน

 

คำสำคัญ: การับรู้, ระดับความรุนแรง, ถ้อยคำบริภาษแบบตรง, ถ้อยคำนัยผกผัน, ผู้พูดภาษาไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 239-271)

 

 

 

The Degree of Intensity of Direct Reprimands and Verbal Irony on the Perception of Native Thai Speakers

 

Chanwit Yaowarittha

 

Abstract

 

This research aimed to examine the degree of intensity of direct reprimands and verbal irony on the perception of Native Thai speakers and to investigate the underlying reasons evaluating the degree of intensity from the perception of hearers. Data were collected from 126 native Thai speakers using online questionnaires comprising 10 situations.

 

The research revealed that the majority of Thai speakers evaluate verbal irony as having a higher degree of intensity than direct reprimands in the context that the speakers intend to reprimand the hearers. For the reasons evaluating the degree of intensity, it was found that, from the perspective
of hearers, sarcastic, satirical, intense, insincere and indignant utterances make verbal irony stronger and more unpleasant than direct reprimands. On the other hand, shortness and abruptness of direct reprimands make them stronger and more unpleasant. Furthermore, linguistic forms were also found as a factor in the evaluation of the degree of intensity of utterances.

 

Keywords: Perception, Degree of Intensity, Direct Reprimands, Verbal Irony, Native Thai Speakers

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 239-271 )

 

บทความ/ fulltext :8_Chaanwit.pdf

 

 

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิงภาษาไทยบทความที่ 1-8 วารสารไทยศึกษาปีที่ 18 ฉบับที่ 2

 

รายการอ้างอิง.pdf