พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์

 

บทคัดย่อ

 

บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อม บริบทของสังคมในระยะเวลานั้นและวิธีการในการฟื้นฟู 

 

ในการวิเคราะห์ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันสงฆ์ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมาก ผลการศึกษาพบว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับสถาบันสงฆ์มาก เพราะพระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่พระศาสนาเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม พระสงฆ์จึงเปรียบเสมือนผู้เชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับรัฐ โดยพระสงฆ์เป็นสื่อกลางการถ่ายทอดความรู้และโลกทัศน์ทางพุทธศาสนาให้กับประชาชนอีกต่อหนึ่ง การฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ให้มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การสังคายนาพระไตรปิฎก การส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม การสร้างวัดและสนับสนุนการบวชเรียน และการปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ กล่าวได้ว่าการฟื้นฟูสถาบันสงฆ์ในรัชกาลนี้สร้างความมั่นคงให้การพระศาสนาพร้อม ๆ กับความมั่นคงทางการปกครอง และเป็นรากฐานของการพัฒนาสถาบันสงฆ์ในปัจจุบัน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2556) หน้า 41-60) 

 

 

King Rama III and the Rejuvenation of the Buddhist Sangha

 

Waraporn Chiwachaisak

 

Abstract

 

This article aims to study the rejuvenation of the Thai Buddhist Sangha during the reign of King Rama III by exploring the historical environment and context at that time, as well as looking at the approach used to restore the religious institutions. In analyzing the relationship between the Thai institution of Kingship and the Buddhist institution at the beginning of the Rattanakosin period, in particular during the reign of King Rama III, it was found that King Rama III paid considerable attention to the Sangha Institution because he realized the dominant role of Buddhist monks in propagation of the Buddha’s Teachings and that they had high respect representing the knowledge of moralistic Buddhism. The virtues of the Sangha represent the harmony between the community and the state, and the traditional path of teaching dharma to disseminate Buddhism to the people. The rejuvenation of the Sangha Institution was for the unity of the country during the reign of King Rama III. The efforts included the compilation of a new version of the Buddhist Canon Pali Tripitaka; the promotion of ‘pariyattitham’ or the text to be used to study the words of the Buddha; the construction of Buddhist monasteries; support of ordinations to institute Buddhist discipline and teachings; and the amelioration of the Sangha Institution. The commitment to rejuvenating the Sangha Institution in this reign has underpinned the viability of the Thai Buddhist tradition in sustaining the administrative stability and consolidation of the institutional development of the Sangha in the contemporary period.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 9 Number 1 (February – July 2013) Page 41-60)

 

บทความ / Full Text : Download