พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” : การสืบทอดและการสร้างสรรค์วรรณคดีชาดกในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย

ณัฐกาญจน์ นาคนวล 

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ศึกษาพระมหาชนกพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในฐานะเรื่องเล่าทศชาติชาดกในสังคมไทยร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการสืบทอดและการสร้างสรรค์ ทั้งด้านเนื้อหา แนวคิด กลวิธีการเล่าเรื่อง และรูปแบบการน􀂱ำเสนอ ผลการศึกษาพบว่าพระราชนิพนธ์พระมหาชนก แสดงให้เห็นการสืบทอดเนื้อหาและแนวคิดทั้งจากวรรณคดีชาดก วรรณคดีพระพุทธศาสนาและวรรณคดีคำสอน โดยนำขนบวรรณคดีมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทสังคมและผู้เสพ มีการสร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องด้วยการดัดแปลงและเปลี่ยนเนื้อหาตอนจบโดยใช้รูปแบบหนังสือภาพประกอบเรื่องในการนำเสนอ กล่าวได้ว่า พระราชนิพนธ์พระมหาชนกแสดงให้เห็นกระบวนการการสืบทอดและสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมทศชาติชาดก เป็นชาดกประจำรัชสมัยในรัชกาลที่ 9 และเป็นวรรณคดีชาดกสมัยใหม่อันยืนยันการดำรงอยู่ของเรื่องเล่าทศชาติชาดกได้อย่างชัดเจน

 

คำสำคัญ : พระมหาชนก; วรรณคดีชาดก; วรรณคดีชาดกสมัยใหม่

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560) หน้า 73-97) 

 

 

The Story of Mahajanaka by His Majesty King Bhumibol Adulyadej: The Transmission and Creativity of Jataka Literature in Contemporary Thai Society

 

Natthakarn Naknuan

 

Abstract

 

The Story of Mahajanaka is a literary work composed in 1996 by His Majesty King Bhumibol Adulyadej, King Rama IX of Thailand. This paper aims at studying this text as a narrative of Thotsachat Jatakas in contemporary Thai society in terms of transmission and creativity of content, concept, storytelling technique, and presentation format. The study reveals that not only was The Story of Mahajanaka transmitted in both content and concept from Jataka, Buddhist and didactic literature, but also some literary conventions were adapted to suit Thai readers in contemporary Thai society. Moreover, the creative aspects that can be found in this text are presented through various storytelling techniques: the adaptation and changing of the ending and the presentation in illustrated book format. According to its significance in many aspects, the text can firmly establish itself as the Jataka of King Rama IX’s reign and also as a narrative of Thotsachat Jatakas in contemporary Thai Society which illustrates the existence of the process of transmission and creativity of Jataka literature in Thai Thotsachat Jatakas culture up to the present day.

 

Keywords : Mahajanaka Jataka; Jataka literature; Modern Jataka Literature

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 13 Number 2 (July – December 2017) Page 73-97)

 

บทความ / Full Text : Download