เหตุการณ์กลศึกในรามเกรฺติ์ฉบับตามี จกของเขมร : อิทธิพลจากรามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชของไทย

ทับทิม แซ่หลี่ยง และ อุบล เทศทอง 

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ด้านเหตุการณ์กลศึกในรามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชของไทยกับรามเกรฺติ์ฉบับตามี จกของเขมร โดยยึดเหตุการณ์กลศึกที่มีปรากฏในรามเกรฺติ์ฉบับตามี จกเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า รามเกรฺติ์ฉบับตามี จกรับอิทธิพลเหตุการณ์กลศึกดังกล่าวจากรามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชซึ่งเป็นการรับมาใช้ 5 รูปแบบคือ การรับมาใช้ทั้งหมด การรับมาใช้โดยเพิ่มรายละเอียด การรับมาใช้โดยตัดรายละเอียด การรับมาใช้โดยซ้ำรายละเอียด และการรับมาใช้โดยสลับลำดับเหตุการณ์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตามี จกเลือกสรรและสร้างสรรค์เหตุการณ์กลศึกคือ การทำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการแต่งคือใช้เป็นกลอนสวดจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านระยะเวลาในการสวด ความสนุกสนาน และการทำให้เนื้อเรื่องเข้าใจง่าย การนำกลศึกเหล่านี้มาใส่ในรามเกรฺติ์ฉบับนี้น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วรรณคดีเรื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในเขมร

 

คำสำคัญ : รามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, รามเกรฺติ์ฉบับตามี จก, กลศึกในรามเกียรติ์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561) หน้า 79-104) 

 

 

Stratagems in the Ta Mi Chak Version of Khmer Reamker: Influences from King Rama I’s Rendition of Thai Ramakien

 

Tubtim Saliang and Ubol Tedtong

 

Abstract

 

This article investigates tactics and ploys used to outwit an opponent or achieve an end in King Rama I’s rendition of Ramakien, Thailand’s national epic, in comparison with the Ta Mi Chak version of Khmer Reamker, with a particular focus on the tactics and ploys found in the Ta Mi Chak version. It was found that the stratagems found in the Ta Mi Chak version were derived from Ramakien, with the influences manifested in five significant ways: complete adoption, adoption with the addition of details, adoption with the reductions of details, adoption with a repetition of details, and adoption with the chronological order of an event being rearranged. The Ta Mi Chak version selects and makes use of these stratagems since it was intended to be composed as a hymn. In so doing, it takes into consideration factors such as timing, amusement and content that must be easily digestible. This study suggests that the utilization and incorporation of these maneuvers is one reason that this particular piece of literature widely popular in Khmer. 

 

Keywords : King Rama I Rendition of Ramakien, Ta Mi Chak Version of Khmer Reamker, Stratagems in Ramakien

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 14 Number 1 (January – June 2018) Page 79-104)

 

บทความ / Full Text : Download