กัมมัฏฐานล้านนา: กระบวนการสั่งสมบุญบารมีและพัฒนาตน

พระครูเมธานันทกิจ

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเรื่องกัมมัฏฐานล้านนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบประชาชนมีส่วนร่วม ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ประกอบด้วยขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาเอกสารใบลาน 11 ฉบับ 2. ลงพื้นที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานร่วมกับคนในชุมชนขุนคง ที่วัดขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 30 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดรหัสองค์ความรู้การปฏิบัติกัมมัฏฐานล้านนา สร้างแนวทางการปฏิบัติ และแนวทางการสืบทอดกัมมัฏฐาน พบว่ากัมมัฏฐานล้านนาใช้ลูกประคำประกอบการปฏิบัติ มีหลักการปฏิบัติ 5 ประการ พิธีกรรม 1 พิธีกรรม ขั้นตอนปฏิบัติ 11 ขั้นตอน ผลการปฏิบัติมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นและไปตามวิสุทธิมรรค ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติสามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ด้วยกัมมัฏฐานล้านนา

 

คำสำคัญ : กัมมัฏฐานล้านนา; การสั่งสมบุญบารมี; การพัฒนาตนเอง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 33-59) 

 

 

Kammaṭṭhāna Lanna: The Methods of Merit-Making and Self Development.

 

Phrakhru Metanantakit

Sirisak Apisakmontree

 

Abstract

 

This research on the ancient Lanna Kammaṭṭhāna is a community-based participatory action research project supported by a research grant from the Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture. The research process involved two main procedures: 1) a study of 11 palm-leaf manuscripts and 2) participation in a 30 day practice of Lanna Kammaṭṭhāna with the residents of Khun Khong community at Wat Khun Khong temple in Hang Dong, Chiang Mai. The objective was to comprehend deeply the knowledge of Lanna Kammaṭṭhāna, while also establishing guidelines for performing and preserving this ancient practice. Evidently, Lanna Kammaṭṭhāna use beads in order to make merit and consists of five principles of conduct, four rituals and 11 steps of implementation. The results are unique to the locality and follow the Visuddhimagga. The practitioner can develop himself to attain enlightenment by Lanna Kammaṭṭhāna.

 

Keyword : Kammaṭṭhāna Lanna; Merit-Making; Self Development

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 1 (January – June 2019) Page 33-59)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

 

 

โลกทัศน์ของสีโหม้ วิชัย : ศึกษาจากจดหมายของสีโหม้ พ.ศ.2432-2433

กมลธร ปาละนันทน์ 
โดม ไกรปกรณ์ 

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้เป็นการศึกษาโลกทัศน์ ของสีโหม้ วิชัย ชาวเชียงใหม่คนแรกที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเมื่อพ.ศ.2432 โดยศึกษาจากจดหมายที่สีโหม้เขียนถึงบิดามารดาเป็นภาษาล้านนาจำนวน 24 ฉบับ

จากการศึกษาพบว่า สีโหม้มีทัศนะในการอธิบาย “โลก” ที่แตกต่างจากคนล้านนารุ่นก่อนหน้ารวมทั้งคนรุ่นเดียวกันส่วนหนึ่ง กล่าวคือการรับรู้เรื่อง “โลก” อันหมายถึงแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยของคนล้านนาในสมัยอดีตตั้งอยู่บนกรอบความคิดที่สำคัญคือคติไตรภูมิ แต่สีโหม้มองและอธิบาย “โลก” จากสภาพความเป็นจริงที่ประสบพบเห็นตามแผนที่หรือความรู้ภูมิศาสตร์แบบตะวันตกอันเป็นผลมาจากบริบททางประวัติศาสตร์ของล้านนาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจากสังคมแบบจารีตสู่ความเป็นสมัยใหม่ 

 

คำสำคัญ : โลกทัศน์, สีโหม้ วิชัย, ประวัติศาสตร์ล้านนา 

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 1-32) 

 

 

Simo Wichai’s  Worldview: The Study of Simo’s Letters during 1889-1890

Kamoldhorn Palanandana
Dome Kraipakorn

 

Abstract

 

This article is a study of worldview of Simo Wichai, the first Chiangmai resident who traveled to the United States in 1889. The study was based on 24 letters, written by Simo to his parents in Lanna script.

 

According to study, Simo had the attitude towards "the world" different from the previous generation, as well as some of the same generation, of Chiang Mai native residents. In traditional society viewpoint at the period, the perception of “the world” which referred to the land of Lanna people was based on the influential concept of Trailokya – the Three Worlds. Simo, in contrary, viewed and described “the world” based on his realistic experience on modern maps and Western geographic knowledge which was a consequence of political, economic, and social change from conservative to modern society in Lanna’s historical context in the beginning of the 25th century of Buddhist era (late 19 century of Christian Era).

 

Keywords : Worldview, Simo Wichai, Lanna History

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 1 (January – June 2019) Page 1-32)

 

บทความ / Full Text : Download