วารสารไทยศึกษา – ปีที่ 16 ฉบับที่ 1

 

1) ภาพจิตรกรรมพิธีแห่เจ้าเซ็น (มูฮัรรัม) ในพระอุโบสถวัดโพธิ์ปฐมาวาส จังหวัดสงขลา: ความขัดแย้งทางการเมืองและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในหัวเมืองปักษ์ใต้สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น /สร้อยสุดา ไชยเหล็ก

 

 

2) พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก /พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์ ,ปรมินท์ จารุวร

 

 

3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี / สุนิตย์ เหมนิล

 

4) พระแท่น: พระพุทธศาสนา  ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย /ปฐมพงษ์  สุขเล็ก

 

5) ปั้นดินขึ้นรูป: การประกอบสร้างความน่าเชื่อถือต่อเรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์ในพระประวัติของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. 2496-2503 /คเณศ กังวานสุรไกร, โดม ไกรปกรณ์

 

6ั) กัมมัฏฐานพระมหาสมเด็จเจ้ากัญไชยราช  วัดป่าบง เมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา/ พระครูเมธานันทกิจ ,พระครูประวิตรวรานุยุต ,พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

 

7) ความเป็นยุคสมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนา  กรณีศึกษา: วาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย/ ภาณุทัต  ยอดแก้ว

 

8) กามนีแต่งตัว: นาฏยประดิษฐ์ผสานไทยกับจีน/ปรัชญา กลิ่นสุวรรณ ,ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์

 

กามนีแต่งตัว : นาฏยประดิษฐ์ผสานไทยกับจีน

กามนีแต่งตัว : นาฏยประดิษฐ์ผสานไทยกับจีน

 

ปรัชญา กลิ่นสุวรรณ

ณฐภรณ์ รัตนชัยวงศ์

 

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นจากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์  ซึ่งมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะท่าทางพื้นฐาน  การแสดงออกของตัวละครพะบู๊ผู้ชายในนาฏศิลป์จีนกับนาฏศิลป์ไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ท่ารำชุดกามนีแต่งตัว โดยใช้การผสมผสานนาฏศิลป์จีนกับนาฏศิลป์ไทย  ผลในการศึกษาพบว่า การแสดงของตัวละครพะบู๊ผู้ชายในนาฏศิลป์จีนมีส่วนที่คล้ายคลึงกับลักษณะท่าทางของตัวละครในนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ผู้วิจัยเลือกนำจุดเด่นของนาฏศิลป์จีนมาออกแบบท่ารำให้กับตัวละครกามนีจากเรื่องราชาธิราช การแสดงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือช่วงเกริ่นนำความเป็นมาของตัวละคร ช่วงการรำอาบน้ำ ช่วงการรำแต่งตัวและช่วงรำอาวุธ ทำให้ได้กระบวนรำสำหรับการแสดงเดี่ยวของตัวละครพันทางเชื้อชาติจีนซึ่งไม่เคยมีผู้สร้างสรรค์มาก่อน

 

คำสำคัญ :นาฏยประดิษฐ์ ,กามนีแต่งตัว, นาฏศิลป์จีน

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 223-236)

 

Kamani Taeng Tua: Thai and Chinese choreography

 

Prachya  Klinsuwan

Nataporn Ratanachaiwong

 

Abstract

This article is written based on creative research that aimed to study and compare the basic expression, posture and movement of a male fighter character in Chinese (classical opera) and Thai dance using the choreography for the “Kamani Taeng Tua” dance by using a mix of Chinese dance and Thai dance. As a result of the study, it was found that the Chinese male fighter character’s basic posture, movement and dance are very similar to Thai characters, as leading man, woman, giant and monkey characters. Main point of Chinese dance is then used for choreographing “kamani” who is the Chinese character in literature called “Rachatirat”. The show is divided into four parts: introduction part, bathing part, dressing part and weapon dance part. Eventually, there is solo dance choreography for Chinese character in “Lakorn Pantang” which has never been created before.

 

Keywords: Choreography, Kamani Taeng Tua, Chinese dance

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 223-236)

 

บทความ/ fulltext :  8_Prachya.pdf

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิงภาษาไทยบทความที่ 1-8 วารสารไทยศึกษาปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563

 

รายการอ้างอิง.pdf

 

 

กัมมัฏฐานพระมหาสมเด็จเจ้ากัญไชยราช  วัดป่าบง เมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

กัมมัฏฐานพระมหาสมเด็จเจ้ากัญไชยราช วัดป่าบง เมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

 

พระครูเมธานันทกิจ

พระครูประวิตรวรานุยุต,

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์กัมมัฏฐานพระมหาสมเด็จเจ้ากัญไชยราช วัดป่าบง เมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีอายุในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เนื้อหาในคัมภีร์แสดงถึงการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๒ ลักษณะ ได้แก่ การปฏิบัติกัมมัฏฐานขณะไปถือศีลอุโบสถที่วัดในวันพระ และการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๔๐ มีหลักการในการปฏิบัติ คือ การบริกรรมหัวใจคาถาซ้ำๆ เพื่อให้เกิดสมาธิ จากนั้นจึงพิจารณาใคร่ครวญในบทสวดนั้นๆ วิธีการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ได้แก่ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และอื่น ๆ ในหมวดอนุสติกัมมัฏฐาน ด้วยการกล่าวบทสรรเสริญพร้อมคำแปล ก่อนขมวดบทสรรเสริญนั้น ๆ เป็นคาถาสั้นๆ เรียกหัวใจคาถา จากนั้นจึงบริกรรมหัวใจคาถาพร้อมนับลูกประคำไปเรื่อย ๆ จนจิตเป็นสมาธิ แล้วจึงค่อยพิจารณาใคร่ครวญในคำแปลของบทสวดแต่ละบท มีลักษณะเฉพาะ ๓ ประการ คือ ๑) ให้ความสำคัญกับการชำระล้างจิตใจด้วยคาถาก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๒) วิธีการภาวนา โดยเมื่อบริกรรม “พุท” ให้รับรู้การเคลื่อนไหวของลมหายใจเข้าที่ปลายจมูก เมื่อบริกรรม “โธ” ให้รับรู้การเคลื่อนตัวของลมหายใจผ่านลำคอ หัวใจ ลงสู่ท้อง ๓) วิธีนับลูกประคำ ให้วางลูกประคำไว้เหนือตัก โดยให้นับลูกประคำ ๑ เม็ด ต่อคำภาวนา ๑ คำ เช่น พุทโธ เป็นต้น

 

คำสำคัญ: กัมมัฏฐาน; พระมหาสมเด็จเจ้ากัญไชยราช; วัดป่าบง เมืองยอง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 165-188)

 

Kammatthana Scripture of Phra Maha Somdej Chao Kanchaiyarat, Wat Pa Bong, Mueang Yong, Republic of the Union of Myanmar

 

Phrakhu Maytanantakit

Phrakru Pravitvaranuyut 

Phisit Kotsupho

 

Abstract

 

This article is an analysis of the kammatthana meditation scripture of Phra Maha Somdej Chao Kanchaiyarat, Wat Pa Bong, Mueang Yong, Republic of the Union of Myanmar in the late 25th century of the Buddhist era. The contents of the scripture represent two aspects of kammatthana practice: practicing kammatthana meditation while keeping the eight precepts at a temple on Buddhist holy days and forty meditation subjects. Kammatthana meditation practice includes the remembrance of the Buddha, dhamma, sangha and others in the category of anusati kammatthana meditation, followed by reciting the text and counting the rosary. The unique kammatthana meditation characteristics of Phra Maha Somdej Chao Kanchaiyarat include three aspects: 1) a procedure for focusing on mind cleansing before entering kammatthana mediation, including sacred words to purify and extinguish sin from the mind; 2) for the praying method, when saying “bud”, one must recognize the movement of the breath coming through the nose, and when saying "dho", one must acknowledge the movement of the breath coming through the throat, heart and into the stomach; 3 ) counting the rosary can be conducted by placing the rosary above the lap and by counting one rosary bead per one prayer, such as saying “Buddho”.

 

Keywords: Kammatthana mediation, Phra Maha Somdej Chao Kanchaiyarat, Wat Pa Bong, Mueang Yong, Republic of the Union of Myanmar.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 165-188)

 

บทความ/ fulltext : 6_Phakru.pdf

 

 

พระแท่น : พระพุทธศาสนา  ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย

พระแท่น : พระพุทธศาสนา  ความเชื่อ และวัฒนธรรมไทย

 

ปฐมพงษ์  สุขเล็ก

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งนำเสนอความเชื่อเรื่องพระแท่น และการสักการบูชาในวัฒนธรรมไทย โดยศึกษาจากวรรณคดีจำนวน 3 เรื่องคือ นิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น  นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี และนิราศเมืองหลวงพระบาง ของหลวงทวยหาญรักษา (เพิ่ม)  ผลการศึกษาพบว่า พระแท่น มี 2 แห่ง คือพระแท่นดงรัง และพระแท่นศิลาอาสน์  เป็นพุทธสถานสำคัญเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยมาประทับ  การสักการะปรากฏทั้งการบูชาด้วยการปฏิบัติและการบูชาด้วยสิ่งของ อาทิ ดอกไม้  มหรสพ และดอกไม้ไฟ  อีกทั้งขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ  ดังนั้นวรรณคดีทั้ง 3 เรื่องจึงมีความสำคัญที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทยเรื่องการสักการบูชาต่อพระพุทธศาสนาช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งยังคงสืบต่อมาถึงปัจจุบัน 

 

คำสำคัญ : พระแท่น, พระพุทธศาสนา, ความเชื่อ, วัฒนธรรมไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 105-128)

 

Phra-thaen: Buddhism Belief and Thai culture

 

Phathompong Suklek

 

Abstract

 

This article aims to describe the belief of phra-thaen and the Thai way of worship by referring to three pieces of Thai literature: 1) Nirat Phra-thaen Dongrang composed by Novice Klan; 2) Nirat Phra-thaen Dongrang composed by Mr. Mee; and 3) Nirat Luangprabang composed by Luang Thuayhanraksa (Phuem). The results found that there were two phra-thaen – Phra-thaen Dongrang and Pra-thaen Sila-at – that were important Buddhist venues where it is believed that the Lord Buddha visited in his lifetime. Worshipping at these sites has appeared in the form of both practice and material worship, such as fireworks, flowers and amusement, as well as other rituals. Accordingly, the abovementioned literature has retained its importance towards Thai culture regarding Buddhist worship during the Rattanakosin period until the present.

 

Keywords: Phra-thaen, Buddhism, belief, Thai culture

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 105-128)

 

บทความ/ fulltext :  4_Prathompong.pdf

 

 

 

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

 

สุนิตย์ เหมนิล

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้มุ่งศึกษาบริบทชุมชน และการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหินตั้ง เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำและอดีตผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ และชาวบ้านหินตั้งที่อยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี รวมจำนวน ๕๐ คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เจาะลึก จัดระบบข้อมูล ตีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และการนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า บ้านหินตั้ง เป็นสังคมเกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาวบ้านมีความเชื่อเรื่องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อมโยงกับหลักพุทธศาสนา โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับผีปู่ตาที่คอยปกปักรักษาลูกหลาน ส่วนด้านภูมิปัญญาของชาวบ้านมาจากฐานของสังคมเกษตรกรรม ผนวกกับการปลูกฝังและสืบทอดจากบรรพบุรุษ เป็นส่วนเกื้อหนุนสำคัญของบ่อเกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลายด้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน และสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงควรศึกษาและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานให้คงอยู่สืบไป

 

คำสำคัญ:  ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ปราชญ์ชาวบ้าน, บ้านหินตั้ง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 75-103)

 

 

Folk wisdom in Ban Hin Tang, Khao San Sub-district,Ban Phue District, Udon Thani Province

 

Sunit Hemanil

 

Abstract

 

This article aims to study the community context and folk wisdom management in Ban Hin Tang in order to propagate and preserve Esan folk wisdom. The study used a qualitative research method and fifty key informants comprising local wisdom scholars, community leaders, ex-community leaders, the elders and villagers who have lived in Ban Hin Tang over 20 years.

The research results found that Ban Hin Tang is an agricultural society. From past to present, the villagers believe in sacred spaces and the supernatural that can be related to the principles of Buddhism. In particular, the beliefs are related to ancestral spirits who are the guardians for their descendants. The villagers have received folk wisdom from being an agricultural society, combining preservation by ancestors, which is the key factor in the creation of folk wisdom in many ways. The folk wisdom benefits the villagers and their community. In addition, such wisdom can be applied for sustainable development in economic and social stability.

 

Keywords:  Folk wisdom, local wisdom scholars, Ban Hin Tang

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 75-103)

 

บทความ/ fulltext : 3_Sunit.pdf

 

 

 

 

 

พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

พลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

 

พลกฤษณ์ วสีวิวัฒน์ และปรมินท์ จารุวร

 

บทคัดย่อ

 

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์  และวิธีคิดในการนำคติชนดังกล่าวมาใช้ในบริบทการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอมรดกโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำคติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ในสังคมประเพณี เช่น ตำนานและเรื่องเล่า ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม มาใช้ในหลายลักษณะ ส่งผลให้เกิดพลวัตของคติชนในหลากหลายมิติ ได้แก่ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ทำให้เกิดรูปเคารพและวัตถุมงคลใหม่ ๆ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเครื่องมือในการต่อรองความสัมพันธ์เชิงอำนาจ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์มีการนำเสนอผ่านกระบวนการวิชาการ และ คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ช่วยขยายความศรัทธาและทำให้เกิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใหม่  ปรากฏการณ์นี้สะท้อน “วิธีคิดแบบคนใต้” ในลักษณะการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์แบบพวกพ้อง การพึ่งพาบารมีของพระบรมธาตุเจดีย์ การดัดแปลงให้เป็นของท้องถิ่น และการอิงรากทางวัฒนธรรม

  

คำสำคัญ : คติชนเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์; พลวัตของคติชน; มรดกโลก

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 35-74)

  

Dynamics of Phra Borommathat Chedi folklore in the context of the nomination of Wat Phra Mahathat Woramahawihan to the World Heritage list

 

Pholkrit Waseewiwat and Poramin Jaruworn

 

Abstract

 

                This article aims to study the dynamics of Phra Borommathat Chedi folklore and the ways of thinking of how to use folklore in the context of the nomination process of Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat Province, to the World Heritage List. The study reveals that the use of Phra Borommathat Chedi folklore, such as myths and narratives, beliefs, traditions and rituals in many forms in traditional society, is a main factor in the nomination to the World Heritage List. This has resulted in the use of Phra Borommathat Chedi folklore in various new dimensions. For example, Phra Borommathat Chedi folklore has created new icons and sacred objects, along with instruments to negotiate power relations, and has been transformed into a cultural commodity presented through the academization and expansion of faith and creation of new sacred objects. This phenomenon reflects “the ways of Southern people thinking”, including creating a relationship network, reliance upon the “barami” of Phra Borommathat Chedi, localization and references to cultural roots.  

Keywords: Phra Borommathat Chedi folklore; dynamics of folklore; World Heritage

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 35-74)

 

บทความ/ fulltext :  2_Pholkrit.pdf