วารสารไทยศึกษาปีที่ 18 ฉบับที่ 2

 

 

 

1) การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว / เทพ บุญตานนท์

 

2) การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีไทยระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๗ / ภาพิมล อิงควระ   โดม ไกรปกรณ์

 

3) ปริศนาธรรมจากการสร้างพระเจ้าล้านนา:รูปพุทธะ หรือ พระธัมมกาย? / วรเมธ มลาศาสตร์

 

4) บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมค่าวซอล้านนา / ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี   ศิริสาร เหมือนโพธิ์ทอง

 

5) ความเชื่อเรื่องผีมอญของชาวมอญเจ็ดริ้ว:บทบาทในฐานะเครื่องมือจัดสรรทรัพยากร / รัตนาวดี สวยบำรุง
ชัยรัตน์ พลมุข   กัญญา วัฒนกุล

 

6) กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama / บัณฑิต ทิพย์เดช

 

7) กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบถ้อยคำนัยผกผันของคู่สนทนาที่มีสถานภาพและความสนิทต่างกัน
ในภาษาไทย / สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

 

8) ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย /     ชาญวิทย์ เยาวฤทธา

วารสารไทยศึกษาปีที่ 18 ฉบับที่ 1

 

 

 

 

1) อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ในภาษาไทพวน / อุษณา อารี

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์

 

2) ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก / ภัครพล แสงเงิน
อุเทน วงศ์สถิตย์

 

3) พลวัตและวิธีคิดในการประกอบสร้างเทศกาลสงกรานต์-วันไหลในภาคตะวันออกของไทย / ชลธิชา นิสัยสัตย์  ปรมินท์ จารุวร

 

4) การสร้างสรรค์ละครนอกเรื่องมโนห์รา ตอน ลาสรงลงสระอโนดาต: การสืบทอดและปรับปรน / กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี

 

5) วรรณคดีไทยในหนังสืออ่านกึ่งวิชาการ (พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๒): การสร้างและเผยแพร่ความรู้
นอกหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยวรรณคดีวิจักษ์ (พ.ศ. ๒๕๕๑) / วรรณพร พงษ์เพ็ง

 

6) งานประดับมุกญี่ปุ่นในประเทศไทย:สัมพันธภาพเชิงศิลปกรรมจากเมืองท่านางาซากิ / เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

 

ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย

ระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย

 

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา

 

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันตามการรับรู้ของผู้พูดภาษาไทย และศึกษาเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของถ้อยคำบริภาษแบบตรงและถ้อยคำนัยผกผันของผู้พูดภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทยจำนวน ๑๒๖ คนผ่านแบบสอบถามออนไลน์ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด ๑๐ สถานการณ์ผลการวิจัยพบว่า ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่ประเมินค่าให้ถ้อยคำนัยผกผันมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำบริภาษแบบตรงในปริบทที่ผู้พูดมีเจตนาบริภาษผู้ฟังสำหรับเหตุผลในการประเมินค่าถ้อยคำพบว่า ถ้อยคำที่แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม ใส่อารมณ์รุนแรง ไม่จริงใจ และทำให้เจ็บใจเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้พูดภาษาไทยประเมินค่าให้ถ้อยคำนัยผกผันมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำบริภาษแบบตรง และถ้อยคำที่สั้น ห้วน และรุนแรงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้พูดภาษาไทยเลือกให้ถ้อยคำบริภาษแบบตรงมีระดับความรุนแรงมากกว่าถ้อยคำนัยผกผัน นอกจากนี้ เหตุผลด้านรูปภาษาก็มีผลต่อระดับความรุนแรงของถ้อยคำด้วยเช่นกัน

 

คำสำคัญ: การับรู้, ระดับความรุนแรง, ถ้อยคำบริภาษแบบตรง, ถ้อยคำนัยผกผัน, ผู้พูดภาษาไทย

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2  (ธันวาคม 2022)  หน้า 239-271)

 

 

 

The Degree of Intensity of Direct Reprimands and Verbal Irony on the Perception of Native Thai Speakers

 

Chanwit Yaowarittha

 

Abstract

 

This research aimed to examine the degree of intensity of direct reprimands and verbal irony on the perception of Native Thai speakers and to investigate the underlying reasons evaluating the degree of intensity from the perception of hearers. Data were collected from 126 native Thai speakers using online questionnaires comprising 10 situations.

 

The research revealed that the majority of Thai speakers evaluate verbal irony as having a higher degree of intensity than direct reprimands in the context that the speakers intend to reprimand the hearers. For the reasons evaluating the degree of intensity, it was found that, from the perspective
of hearers, sarcastic, satirical, intense, insincere and indignant utterances make verbal irony stronger and more unpleasant than direct reprimands. On the other hand, shortness and abruptness of direct reprimands make them stronger and more unpleasant. Furthermore, linguistic forms were also found as a factor in the evaluation of the degree of intensity of utterances.

 

Keywords: Perception, Degree of Intensity, Direct Reprimands, Verbal Irony, Native Thai Speakers

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 18 Number 2  (December 2022) Page 239-271 )

 

บทความ/ fulltext :8_Chaanwit.pdf