วารสารไทยศึกษา – ปีที่ 15 ฉบับที่ 1

1)โลกทัศน์ของสีโหม้ วิชัย : ศึกษาจากจดหมายของสีโหม้ พ.ศ.2432-2433/ กมลธร ปาละนันทน์, โดม ไกรปกรณ์

2) กัมมัฏฐานล้านนา: กระบวนการสั่งสมบุญบารมีและพัฒนาตน/ พระครูเมธานันทกิจ, ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี

3) ภาพปฐมสมโพธิ: บทบาทหน้าที่ในการทำนายชะตาชีวิตของชาวผู้ไทบ้านคำบง อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์/ สุทธินันท์ ศรีอ่อน

4) บทละครเรื่อง เงาะป่า: จากข้อมูลคติชนสู่การสร้างสรรค์วรรณคดี/ ศรัณย์ภัทร บุญฮก

5) “ของแปลกตา” ในพระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว/ พรรณราย ชาญหิรัญ

6) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ร่วมสมัยในบริบทเมืองสร้างสรรค์และการเข้าสู่ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน/ สามมิติ สุขบรรจง

 

“ของแปลกตา” ในพระราชหัตถเลขา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พรรณราย ชาญหิรัญ

 

บทคัดย่อ 

 

พระราชหัตถเลขาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบันทึก “ของแปลกตา” ที่พระองค์ทรงพบตลอดเส้นทางการเสด็จประพาสยุโรป ซึ่งแบ่งได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น สิ่งของประเภทแรกสื่อถึงการเป็นคลังความรู้ด้านภูมิศาสตร์แก่ชนชั้นนำสยามในยุคนั้น ส่วนสิ่งของประเภทหลังสื่อถึงธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชนชั้นสูง แนวคิดเรื่องการสะสม มิวเซียมและพิพิธภัณฑ์ รวมถึงธรรมเนียมการให้ของขวัญ ของฝาก และของที่ระลึกของชนชั้นนำสยาม เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงเชื่อมสองวัฒนธรรมคือตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน โดยการเปิดโลกทัศน์ของชนชั้นนำสยามเกี่ยวกับความศิวิไลซ์ของยุโรป ทั้งยังแสดงถึงรสนิยมของชนชั้นนำสยามต่อของแปลกตานั้นๆ ของแปลกตาเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเป็นคลังความรู้จากต่างแดนที่นำไปสู่การปรับประเทศให้ทันสมัยต่อไป

 

คำสำคัญ: ของแปลกตา; พระราชหัตถเลขา; รัชกาลที่ 5; ศิวิไลซ์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 137-166)

 

Exotic Objects” in King Chulalongkorn’s Royal Letters from Europe in 1897

Phannarai Chanhiran

 

Abstract

 

King Chulalongkorn’s royal letters sent from Europe in 1897 record “exotic objects” the King encountered during his trip. The objects can be divided into 1) natural objects and 2) man-made objects. The natural objects became geographical knowledge for Siamese elites. The man-made objects represented gift exchanges, concepts of collecting and museums, and concepts of giving gifts and souvenirs. The significance of the description of the exotic objects was to bridge the cultures of the East and the West. To show Siamese elites taste and expand the worldviews of Siamese elites, the king shared his experiences in Europe under the name of “being civilized”. Exotic objects were an important inspiration and knowledge regarding foreign countries for the modernization of Siam.

 

Keywords: exotic objects; royal letters; King Chulalongkorn; being civilized 

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 1 (January – June 2019) Page 137-166)

 

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วารสารไทยศึกษา – ปีที่ 14 ฉบับที่ 2

 

1) รัชสมัยแห่งการสร้างทุนมนุษย์ : พระราชกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อในยุโรป / สุภางค์ จันทวานิช

 

2) ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง – ดอกไม้บรรณาการ: จากสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพสู่ภาพตัวแทนอำนาจการปกครอง / เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

 

3) การวิเคราะห์คำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชน / ภาณุทัต ยอดแก้ว

 

4) วัฒนธรรมเมืองในพื้นที่ชายขอบของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล / โสวัตรี ณ ถลาง

 

5) การมาเยือนของหญิงชรา : ปฏิบัติการสร้างสรรค์ละครฝรั่งเพื่อผู้ชมไทย / อาทรี วณิชตระกูล

 

6) “เมื่อเกิดมาเป็นสตรี จะสงวนประเวณีให้แจ่มใส”: การนำเสนอตัวละครหญิงเพื่อสอนหญิงในเรื่องดาหลังพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 / ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

ภาพปฐมสมโพธิ: บทบาทหน้าที่ในการทำนายชะตาชีวิตของชาวผู้ไทบ้านคำบง อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

สุทธินันท์  ศรีอ่อน

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ศึกษาบทบาทหน้าที่ของภาพปฐมสมโพธิที่ใช้ทำนายดวงชะตาชีวิตของชาวผู้ไทคำบงในงานบุญเทศน์มหาชาติ ณ วัดประสิทธิ์โพธิ์ชัย บ้านคำบง ต.คำบง อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของภาพชุดดังกล่าวเป็นภาพพุทธประวัติที่มาจากวรรณกรรมเรื่องสำคัญคือปฐมสมโพธิกถา โดยชาวผู้ไทคำบงใช้ภาพวาดชุดดังกล่าวมาปรับใช้สำหรับทำนายชะตาชีวิตของชาวบ้าน การใช้ภาพวาดปฐมสมโพธิในการทำนายจึงสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างวรรณกรรมพุทธศาสนากับศิลปะจิตรกรรมและวิถีชีวิตของผู้คน ภาพปฐมสมโพธิชุดดังกล่าวมีผลต่อระบบความเชื่อเกี่ยวกับชะตาชีวิตของชาวผู้ไทบ้านคำบง  เนื่องจากเป็นภาพวาดที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจึงถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ อนึ่งวิถีชีวิตของชาวผู้ไทคำบงผูกพันกับพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในภาพปฐมสมโพธิจึงมีอิทธิพลต่อระบบความคิดและความเชื่อของคนในชุมชนที่มีระบบความเชื่อถือมั่นคงในพระพุทธศาสนาภาพปฐมสมโพธิที่ใช้ในการทำนายมีทั้งหมด ๘๐ ภาพ ประกอบด้วยภาพเรื่องราวของพระพุทธเจ้าทั้งในทางที่ดีและไม่ดีคืออาจมีทั้งผจญปัญหาและอุปสรรค การจับฉลากหมายเลขภาพวาดแล้วนำเรื่องราวในภาพวาดมาตีความทำนายชะตาชีวิตชาวผู้ไทดังกล่าว  จึงทำให้ภาพวาดปฐมสมโพธิมีบทบาทหน้าที่ในฐานะผู้ทำนายความเป็นไปของชีวิตชาวผู้ไทคำบง

 

คำสำคัญ: ปฐมสมโพธิ, บทบาทหน้าที่, การทำนายชะตาชีวิต, ชาวผู้ไทคำบง

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) หน้า 61-103) 

 

Pathomsombodhi Paintings: The Function for predicting the life of Phutai Ban Khambong people, Huai Phueng District,Kalasin Province

 

Sudhinan Sri-on

 

Abstract

 

The purpose of this article was to study the fortune-telling function of the Pathomsombodhi paintings in Prasitbochai Temple, Bankhmbong Khambong Sub-district, Huayphueng District, Kalasin Province, during the Phutai’s Vessantara chanting ceremony. The study found that the contents of the paintings were related to the stories about the Buddha in Pathomsombodhi literature. The Phuthai Khambong people have constructed a new meaning and a new function to these paintings by using them as a tool for fortune-telling. The use of the paintings of the Buddha’s stories to predict people’s life reflects the relationship among Buddhist literature, art and people’s ways of life. The Pathomsombodhi paintings affected the belief about the future life of the Phuthai Khambong people because the paintings contained the Buddha’s stories, which are believed to be highly scared. Moreover, as the ways of life of the Phuthai Khambong people are highly connected with Buddhism, the Buddha’s stories in the Pathomsombodhi paintings strongly influence the system of thinking and belief of the Phuthai Khambong people. The Buddha’s stories in the Pathomsombodhi paintings included various positive and negative stories about the Buddha. When a person picks up a number to select a painting, the story in the selected painting can be used to interpret and predict the future of that person. Thus the Pathomsombodhi paintings have taken on the function as a fortune teller, forecasting the people’s life.

 

Keywords: Pathomsombodhi, Function, predicting the life, Phutai Khambong People.

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 15 Number 1 (January – June 2019) Page 61-103)

บทความ / Full Text : Download

 

 

 

 

 

จริยธรรมในการตีพิมพ์

จริยธรรมของบรรณาธิการ

 

1. ยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ตามเกณฑ์ของวารสารโดยไม่ใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล แต่พิจารณาจากความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ

 

2. ให้เสรีภาพแก่ผู้นิพนธ์บทความในการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชา และคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

 

3. รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำวารสารทั้งผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ

 

4. ตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหาและคุณภาพของบทความร่วมกับกองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำวารสารก่อนการตีพิมพ์

 

5. รักษามาตรฐานของวารสารและพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพอยู่เสมอ

 

 

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewers)

 

1. มีความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญตามศาสตร์ของตน เพื่อพิจารณายอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ด้วยความเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักวิชาในศาสตร์นั้น ๆ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว รวมทั้งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์บทความ

 

2. ตรงเวลา

 

3. รักษาความลับของผู้นิพนธ์บทความ

 

4. ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำวารสาร

 

 

จริยธรรมของผู้นิพนธ์บทความ

 

1. มีการคิด ค้นคว้า ทบทวน วิเคราะห์ สรุป เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูล โดยผู้เขียนเอง กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ

 

2. ซื่อสัตย์ และมีคุณธรรม ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ให้เกียรติโดยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการเขียนบทความ

 

3. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานวิชาการนี้จริง

 

4. เคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขบทความตามคำแนะนำให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารและตามมาตรฐานทางวิชาการ

 

5. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอ เพื่อขอรับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว