ความเป็นยุคสมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนา  กรณีศึกษา : วาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย

ความเป็นยุคสมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนา  กรณีศึกษา : วาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย

                                                 

ภาณุทัต  ยอดแก้ว

 

บทคัดย่อ

                

ทฤษฎีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์(critical discourse analysis) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการเปิดเผยถึงอุดมการณ์ที่ฝังอยู่ในวาทกรรมและรวมถึงวัฒนธรรมที่สร้างวาทกรรมดังกล่าว  บทความนี้ต้องการศึกษาอัตลักษณ์ของวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย และสืบค้นว่าวาทกรรมดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในบริบททางประวัติศาสตร์แบบไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิเคราะห์จากทฤษฎีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์  ในบทความนี้ ผู้วิจัยพยายามอธิบายว่าแนวคิดว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกสะท้อนในฐานะภาพตัวแทน (representation) ในงานวรรณกรรมอย่างไร ไตรสิกขาและพุทธปัญญาถูกพบว่าเป็นชุดความรู้และสะท้อนฐานคติทางอุดมการณ์  วาทกรรมว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของเถรวาทไทยถูกสร้างขึ้นในยุคสงครามเย็นเมื่อวาทกรรมเสรีนิยมได้แข่งขันกับวาทกรรมคอมมิวนิสต์ในการช่วงชิงความเป็นเจ้าอุดมการณ์  วาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมโต้วัตถุนิยม บริโภคนิยม และจักรวรรดินิยมใหม่ อย่างไรก็ตาม วาทกรรมเถรวาทไทยได้พัฒนาขึ้นในยุคต่อมาจนมีรูปแบบที่สลับซับซ้อน ทั้งในด้านเนื้อหา โครงเรื่อง การให้เหตุผล และการใช้สหบท (intertextuality) เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ความหมายของตนเอง

 

คำสำคัญ : วาทกรรม, ตัวบท, สหบท, สิทธิมนุษยชน, เถรวาท

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 189-222)

 

Thai Buddhist Modernism: Human Rights Discourse as Formulated by Thai Buddhist Monks and its Historical Development

 

Panutat Yodkaew 

                 

Abstract

 

Critical discourse analysis is a useful method for uncovering the underlying ideologies embedded in discourses and the larger culture that create those discourses. This article aims to study the identity of human rights discourse as formulated by three Thai Buddhist monks and to investigate when such discourse was formed and how the discourse has developed through time, especially when viewed from the perspective of critical discourse analysis. The author attempts to shed light on the discursive strategy through which the modern concept of human rights is linguistically represented in contemporary Thai Buddhist literary works.Trisikkha and puñña are found to count as episteme and reflect the ideological assumptions upon which most contemporary Theravada discourse is based. The first Theravada discourse on human rights emerged during the Cold War when liberalist discourse competed against those of Communism for ideological hegemony. Human rights discourse, as formed by Thai Buddhist monks, is arguably deemed a part of the spectrum of Thai Theravada counter discourse against materialism, consumerism and neo-imperialism. Theravada Buddhist discourse has developed over the past decades to integrate various strands of discursive knowledge of modern disciplines and now has become even more sophisticated in plot, argument and use of intertextualities to differentiate their meaning.

 

Keywords: discourse, text, intertextuality, human rights, Theravada

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 189-222)

 

บทความ/ fulltext :  7_Panupat.pdf

 

 

 

 

ปั้นดินขึ้นรูป: การประกอบสร้างความน่าเชื่อถือต่อเรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์ในพระประวัติของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๓

ปั้นดินขึ้นรูป: การประกอบสร้างความน่าเชื่อถือต่อเรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์ในพระประวัติของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๓

 

คเณศ กังวานสุรไกร

โดม ไกรปกรณ์

 

บทคัดย่อ

 

บทความนี้ต้องการศึกษากระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือของเรื่องเล่าความเลื่อมใสศรัทธาไสยศาสตร์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยวิเคราะห์วิธีการที่ผู้เขียนพระประวัติใช้ยืนยันความน่าเชื่อถือของเรื่องราวในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่จดหมายของหลวงรักษาราชทรัพย์ใน พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ปรากฏเรื่องเล่านี้ จนถึงหนังสืออนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิดอนุสรณ์สถานระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯใน พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งเป็นงานเขียนของกองทัพเรือชิ้นแรกที่รับเรื่องเล่าของหลวงรักษาราชทรัพย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระประวัติอย่างเป็นทางการ  ผลการศึกษาพบว่า ความน่าเชื่อถือต่อเรื่องเล่านี้ประกอบสร้างด้วย “ชุดวิธีการประกอบสร้างความน่าเชื่อถือ” ที่ผู้เขียนพระประวัติแต่ละคนเลือกสรรมาใช้ เพื่อให้เรื่องราวพระประวัติของกรมหลวงชุมพรฯแลดูเป็นเหตุเป็นผล สมจริง และน่าเชื่อถือต่อสายตาของผู้อ่าน รวมทั้งสอดคล้องกับบริบทที่ผู้คนรับรู้ภาพลักษณ์ของพระองค์ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

 

คำสำคัญ:  ประวัติศาสตร์นิพนธ์, ชีวประวัติ, กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์, เรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์

 

(ตีพิมพ์ใน วารสารไทยศึกษา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) หน้า 129-163)

 

 

Molding a Figure: Constructing Reliability of the Mystical Legends in the Biography of Admiral Prince Abhakara of Chumphon during 1953-1960

 

Kanest Kangwansurakry

Dome Kraipakorn

 

Abstract

 

This article studies the constructing reliability of the mystical legends about Admiral Prince Abhakara Kiartivongse’s belief in superstition by analyzing how each biographer affirmed the reliability of the story at his time from the Letter from Luang Raksarajasup in 1953, the first work relating the mystical story, to Commemoration of Ceremony opening ‘Chumphon Khet Udomsak’ Beacon in 1960, the second official biography of the Admiral Prince that accepted the mystical legends to be one of fact. According to the study, the reliability of the mystical legends was constructed by a “set of composition for constructing reliability” that each biographer chose in order to make the story to sound reasonable, realistic and reliable to convince readers to believe that the legends existed in the past, as well as to harmonize with the historical context so that people would recognize that Admiral Prince’s image was a sacred spirit.

 

Keyword: Historiography, Biography, Prince of Chumphon, Mystical story

 

(Published in Journal of Thai Studies Volume 16 Number 1 (January-June 2020) Page 129-163)

 

บทความ/ fulltext :  5_Kanest.pdf